5 ประเภทของฟิล์มรถยนต์
การขับขี่รถยนต์ถึงแม้ว่าจะทำการขับขี่ได้ปลอดภัยแค่ไหน หรือว่ารถยนต์ทำประกันรถยนต์เอาไว้แล้ว แต่การขับขี่บนท้องถนนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอแสงแดด และความร้อนที่จะเข้ามาในตัวรถ นอกจากแสงแดดที่สว่างจ้าจนแสบตาแล้ว ความร้อนที่เข้ามาในตัวรถก็ส่งผลให้เราอาจต้องเร่งเครื่องปรับอากาศให้เย็นลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถเปลืองน้ำมัน ฟิล์มรถยนต์ก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการช่วยกรองแสง และความร้อนที่เข้ามาในตัวรถ ถึงแม้ว่ามีประกันรถยนต์ชั้น 1 แล้วยังไงก็ยังต้องติดฟิล์มให้กับรถยนต์ ลองมาดูกันว่าฟิล์มแบบไหนเหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุด
1.ฟิล์มกรองแสงแบบย้อมสี (Dyed Window Tint)
เป็นฟิล์มที่สามารถช่วยกรองแสงจากแสงอาทิตย์ให้มีความเข้มน้อยลง สะท้อนรังสีได้บางส่วน หรือเรียกว่าได้แทบไม่กันรังสี UV เลย จึงทำให้ช่วยลดปริมาณความร้อนได้ค่อนข้างน้อย ไม่เกิน 50% มีอายุการใช้งานที่สั้น 3-5 ปี แต่ราคาที่ค่อนข้างถูก สามารถติดรอบคันได้ในราคาประมาณ 1,000-2,000 บาท
2.ฟิล์มกรองแสงแบบเคลือบโลหะ (Metalized Window Tint)
เนื้อฟิล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดี เนื่องจากมีการเคลือบด้วยไอโลหะชนิดต่างๆ หรืออย่างที่เราคุ้นชินกันในชื่อ ฟิล์มปรอท ,ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน ฟิล์มชนิดนี้จึงสามารถช่วยลดความร้อนได้ดี 35-90% มีอายุการใช้งานประมาณ 3-7 ปี สามารถติดรอบคันได้ในราคา 3,000-5,000 บาท
แต่ฟิล์มในประเภทนี้อาจทำให้เกิดการรบกวนของสัญญาณมือถือ และอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันก็ยังถือว่าเป็นฟิล์มประเภทที่ผิดกฎหมาย หากเลือกติดฟิล์มที่มีความวาว และสะท้อนแสงมากเกินไป อาจไปรบกวนทัศนวิสัยในการขับขี่ของรถคันอื่น จึงอาจต้องเลือกด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
3.ฟิล์มกรองแสงคาร์บอน (Carbon Window Tint)
เป็นฟิล์มที่มีการนำโมเลกุลของคาร์บอนมาผสมไว้ในเนื้อฟิล์ม หรือนิยมเรียกกันว่า “นาโนคาร์บอน” มีคุณสมบัติเหมือนฟิล์มปรอท แต่ไม่ได้วาวจนดูเหมือนกระจก ยังสามารถสะท้อนแสง และลดความร้อนได้ดีเช่นเดียวกัน จุดเด่นของฟิล์มชนิดนี้ เมื่อดูจากภายนอกจะดูเป็นสีดำเข้ม แต่มองจากภายในรถยังมีความใส ให้ความชัดเจน และยังให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวแก่ผู้ขับขี่ มีความทนทานต่อการซีดจาง อายุการใช้เงินเกิน 10 ปี ป้องกันรังสีอินฟราเรดได้สูงถึง 40% ไม่รบกวนสัญญาณ GPS, สัญญาณ Easy Pass, สัญญาณมือถือ และอินเทอร์เน็ต และเป็นฟิล์มที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
4.ฟิล์มกรองแสงเซรามิก (Ceramic Window Tint)
เป็นฟิล์มที่มีการนำอนุภาคเซรามิกที่ไม่นำไฟฟ้า และไม่เป็นโลหะมาเป็นส่วนประกอบในฟิล์ม มักเรียกกันว่า “นาโนเซรามิก” มองจากภายนอกแล้วมีความสว่าง ไม่มืดทึบ ไม่บดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นตอนขับขี่ แต่ก็ยังมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และรัง UV ได้ดีเยี่ยมถึง 99% นอกจากนี้ยังไม่รบกวนสัญญาณดิจิทัลต่างๆ อีกด้วย อายุการใช้งานยาวเกิน 10 ปีเช่นเดียวกับฟิล์มกรองแสงคาร์บอน ราคาค่อนข้างสูง แต่สมกับคุณภาพ และเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน
5.ฟิล์มกรองแสงไฮบริด (Hybrid Window Tint)
ฟิล์มประเภทนี้เป็นการผสมผสานระหว่างฟิล์ม 2 ชนิด โดยการหยิบคุณสมบัติที่ดีมารวมกัน มีคุณสมบัติในการกรองแสง และลดความร้อนดียิ่งขึ้นกว่า 70% สามารถป้องกันรังสี UV ได้ถึง 99% มีการสะท้อนแสงได้ดี แต่ไม่วาวมาก อายุการใช้งาน 5-7 ปีขึ้นไป และในฟิล์มบางประเภทอาจสูงถึง 7-10 ปีขึ้นไป มีความสวยงาม ไม่รบกวนสัญญาณมือถือ และอินเทอร์เน็ต ราคาค่อนข้างสูงเริ่มต้นที่ประมาณ 5,000-10,000 บาทขึ้นไป ตามการเคลือบกับสารประเภทต่างๆ
ฟิล์มไฮบริดที่มีจำหน่ายทั่วไป
ยกตัวอย่างเช่น
- ฟิล์มไฮบริดแบบย้อมสี + เคลือบผิวด้วยไอโลหะ (Dyed + Metalized)
- ฟิล์มไฮบริดแบบย้อมสี + เคลือบสารเซรามิกระดับนาโน (Dyed + Nano Ceramic)
- ฟิล์มไฮบริดแบบเคลือบสีแบบประหยัด + ผงนาโนคาร์บอน (Glue Tint + Nano Carbon)
- ฟิล์มไฮบริดแบบเคลือบอนุภาคโลหะ + เคลือบสารเซรามิกระดับนาโน (Metal Sputter + Nano Ceramic)
- ฟิล์มไฮบริดแบบเคลือบโลหะ + เคลือบผิวด้วยนาโนคาร์บอน (Metalized + Nano Carbon)
นอกจากนี้ก็ยังมีฟิล์มพิเศษแบบอื่นๆ เช่น ฟิล์มนิรภัย ที่มีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับแรงกระแทกเพื่อป้องกันอันตรายจากกระจกแตก มีการใช้งานกับงานกระจกในอาคารทั่วไป แต่ปัจจุบันก็มีการนำมาใช้ในรถยนต์มากขึ้น
การเลือกฟิล์มติดรถยนต์ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานรถของแต่ละผู้ขับขี่ ฟิล์มที่ราคาย่อมเยาอาจไม่ได้มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด หรืออาจมีอายุการใช้งานที่สั้น แตกต่างกับฟิล์มที่มีราคาสูงกว่าก็ย่อมมาพร้อมคุณสมบัติต่างๆ ที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามในก็ควรคำนึงถึงการใช้งาน และราคาที่เราสามารถจ่ายได้ด้วย เพื่อเลือกฟิล์มให้เข้ากับการใช้งานของรถ และสบายกระเป๋าเงินของคุณไปพร้อมกัน