กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ฉบับใหม่ บังคับใช้ 10 ม.ค. 2566
กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ฉบับใหม่นี้ ประกาศจากคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ได้มีการแจ้งการปรับปรุงรายละเอียดสัญญาธุรกิจของ “กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์” และ “กฎหมายเช่าซื้อรถจักรยานยนต์” ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และจะมีผลบังคับใช้ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป และถ้าหากสัญญาเช่าซื้อรถ ทำไว้ก่อนวันที่ 10 ม.ค. 2565 ให้มีผลใช้บังคับต่อไป แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ให้ทางผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อตกลงกัน
คำสำคัญที่ควรรู้สำหรับกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่
ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
แปลว่า การประกอบกิจการค้าโดยเจ้าของนำเอารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของตนออกให้บุคคลธรรมดาเช่า และให้คำมั่นว่าจะขายรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์หรือว่าจะให้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ตามที่กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ได้ระบุไว้
รถยนต์
แปลว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลใช้เป็นการส่วนตัวแต่เพียงเท่านั้น โดยไม่สามารถนำไปใช้งานในการขนส่งเพื่อธุรกิจการค้า ธุรกิจส่วน หรือรับจ้างฃนของ
รถจักรยานยนต์
แปลว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย เพื่อใช้เป็นการส่วนตัวเท่านั้น โดยไม่นำไปใช้ทำการขนส่ง เพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเอง หรือเพื่อรับจ้างต่างๆ
ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บได้
แปลได้ว่า ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีรถประจำปีเงินเพิ่มเนื่องจากการต่อภาษีล่าช้า ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนเครื่องยนต์ สีรถ ชนิดเชื้อเพลิง (ต่อรายการ) ค่าธรรมเนียมการโอนทะเบียนรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ ค่าธรรมเนียมใบแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถ ค่าปรับเนื่องจากการเปลี่ยนเครื่องยนต์ สีรถ ชนิดเชื้อเพลิง และค่าเบี้ยประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ
แปลว่า เงินที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อ เพื่อเป็นค่าติดตามทวงถามหนี้เงินค่างวดเช่าซื้อรถ ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ แต่ไม่รวมถึงค่าติดตามเอารถกลับคืนของผู้ให้เช่าซื้อ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate)
หมายความว่า อัตราดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อในลักษณะของการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้น คงเหลือในแต่ละงวด
กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่มีสาระสำคัญอะไรบ้าง?
ใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
ผู้เช่าซื้อต้องเสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกจากเงินต้นคงเหลือแต่ละงวด สำหรับกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่นี้ มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกลไกตลาด โดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) และในกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ไว้เป็นการเฉพาะให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกลไกตลาด โดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) โดยแบ่งเป็น 3 อัตราตามกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ดังนี้
- รถยนต์ใหม่ ไม่เกิน 10%/ปี
- รถยนต์ใช้แล้ว ไม่เกิน 15%/ปี
- รถจักรยานยนต์ใหม่ ไม่เกิน 23%/ปี
แต่สัญญาในกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์อาจมีการปรับเปรียบอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หรือลดลงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในทุกๆ 3 ปี
มีการปิดบัญชีก่อนครบกำหนด
หากผู้เช่าซื้อต้องการปิดบัญชีก่อนครบกำหนดสัญญา โดยขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในครึ่งเดียวโดยไม่ผ่อนชำระ ตามกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับนี้ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องให้ส่วนลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระให้แก่ผู้เช่าซื้อ โดยแบ่งเป็น 3 กรณี
- ชำระค่างวดมาแล้วไม่เกิน 1 ใน 3 ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 60%
- ชำระค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 70%
- ชำระค่างวดมาแล้วเกินกว่า 2 ใน 3 ได้รับส่วนลดทั้งหมด (ฟรี)
กรณียกเลิกสัญญา
- ยกเลิกสัญญาผู้เช่าซื้อ หลังมีการผิดนัดชำระ 3 งวดติด
ตามกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่นี้ ผู้ให้เช่าส่งหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อที่ค้างชำระ ภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และละเลยไม่ทำตาม ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้
- ติ่งหนี้ในกรณีที่นำรถขายทอดตลาด
หากผู้ให้เช่านำรถออกขายทอดตลาด ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบค่างวดที่ค้างอยู่ตามสัญญาในกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่ โดยคิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น
หากเปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อ หรือขายโอนสัญญา
กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์มีการปรับค่าใช้จ่ายจากเดิม 4,000 บาท ลดเหลือ 2,500 บาท
เบี้ยปรับในกรณีผิดนัดชำระ
กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่ระบุไว้ว่าหากผู้เช่าซื้อชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระ ผู้ให้เช่าซื้อสามารถคิดเบี้ยปรับจากผู้เช่าซื้อได้ไม่เกิน 5%/ปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ
สรุปประกาศกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ฉบับใหม่แบบรวบรัด
ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์มีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน
เนื้อหาในกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่ระบุไว้ว่าเป็นการให้เช่าซื้อให้กับ “บุคคลธรรมดา” และมีจุดประสงค์การใช้งานเพื่อ “การใช้งานส่วนตัว” เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้งานจุดประสงค์อื่นเช่น ใช้เพื่อทำการประกอบธุรกิจ รับจ้างส่งของ หรือรับจ้างส่งคน เป็นต้น
ประกาศกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่มีผลให้ผู้เช่าซื้อได้ประโยชน์มากขึ้นจริงหรือไม่
ผู้เช่าซื้อจะได้ประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ยที่เดิมสูงกว่าเพดานที่ประกาศใหม่ได้กำหนด แต่ผู้เช่าซื้อจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากประกาศฉบับนี้หากทำการปิดบัญชีหนี้ก่อนครบกำหนดชำระ ยิ่งมีการชำระค่างวดมานานเท่าไหร่ก็ยิ่งจะทำให้โอกาสปิดหนี้ และได้รับส่วนลดดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับกฎหมายเช่าซื้อรถยนต์ การคิดอัตรา “ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก” เหมือนการผ่อนบ้านจริงหรือไม่
วิธีการคิดดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อ เป็นแบบ “การคิดดอกเบี้ยคงที่” โดยคิดตลอดอายุสัญญาแล้วหารเฉลี่ยตามงวดชำระ ทำให้มีการผ่อนชำระในอัตราเท่ากัน แต่ “สัดส่วนเงินค่างวดในแต่ละงวด” จะถูกคิดตามประกาศเรื่อง สัญญาเช่า ของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งจะแสดงเป็น “ตารางแสดงภาระหนี้” แนบท้ายสัญญาเช่าซื้อ ให้ผู้บริโภคทราบว่า ในแต่ละงวดที่ผ่อนชำระมี “เงินต้นและดอกเบี้ย” เท่าไร
ขอบคุณข้อมูลจาก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565