นโยบายการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด

(Whistleblower Policy)
       บริษัท ซิลค์สแปน จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ตลอดจนกลุ่มบริษัทในเครือมีนโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่แจ้งข้อมูลหรือ ให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท และข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท (Whistleblower Policy) ดังนี้

ผู้มีสิทธิร้องเรียน

  1. พนักงานที่พบเห็นการกระทําที่ทุจริต หรือฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท
  2. พนักงานที่ถูกกลั่นแกล้ง ข่มขู่ ถูกลงโทษทางวินัย เช่น ถูกลดขั้นเงินเดือน ถูกพักงาน ให้ออกจากงาน หรือถูกเลือกปฏิบัติด้วยวิธีการอันไม่ชอบที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพการจ้างงาน อันเนื่องมาจากการที่ตนได้ ร้องเรียน ให้ข้อมูล หรือจะให้ข้อมูล ช่วยเหลือในขั้นตอนการสืบสวนสอบสวน หรือรวบรวมข้อเท็จจริง ให้แก่
ผู้รับข้อร้องเรียน รวมไปถึงการฟ้องร้องดําเนินคดี การเป็นพยาน การให้ถ้อยคํา หรือการให้ความร่วมมือใดๆ ต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐ
  3. ผู้ร้องเรียนมีสิทธิร้องเรียนครอบคลุมทั้งกรรมการของกลุ่มบริษัท ผู้บริหารของกลุ่มบริษัท พนักงานของกลุ่มบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ หรือบุคคลอื่นที่พบเห็น หรือทราบ หรือสงสัยว่ามีการกระทำใดๆที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท และข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของกลุ่มบริษัท

ผู้รับข้อร้องเรียน

  1. ประธานกรรมการตรวจสอบ
  2. กรรมการอิสระคนใดคนหนึ่ง
  3. เลขานุการบริษัท
  4. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  5. ผู้บังคับบัญชาที่ท่านไว้วางใจในทุกระดับ

วิธีการร้องเรียน

      ร้องเรียนต่อผู้รับข้อร้องเรียนคนใดคนหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. แจ้งผ่านช่องทาง Line Official Account มายังที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
สังกัดสำนักงานกรุงเทพ
สังกัดสำนักงานพิษณุโลก
  1. 2. แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ [email protected]
  2. 3. แจ้งด้วยลายลักษณ์อักษรด้วยจดหมายปิดผนึกถึงจดหมายปิดผนึก และจ่าหน้าซองถึง “ฝ่ายเลขานุการประธานบริหาร” มายัง บริษัท ซิลค์สแปน อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์เรจ จำกัด เลขที่ 555/68 อาคารเอส เอส พี ทาวเวอร์ ชั้น 27 ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
  3. 4. แจ้งผ่านช่องทางอีเมลล์ของประธานคณะกรรมการตรวจสอบที่ [email protected]
  4. 5. ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนเลือกที่จะไม่เปิดเผยชื่อ ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจน เพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามี การกระทําที่เป็นการทุจริต หรือฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทเกิดขึ้น
      ทั้งนี้ การร้องเรียนจะถือเป็นความลับที่สุด และผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง และไม่จําเป็นต้องเปิดเผยตัวตนผู้ร้องเรียน เว้นแต่หากเปิดเผยตนเองจะทําให้บริษัทสามารถแจ้งผลการดําเนินการหรือ รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องที่ร้องเรียนให้ทราบได้

ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง

  1. 1. ในการดำเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ให้ผู้รับข้อร้องเรียนดำเนินการเสนอเรื่องร้องเรียนให้บุคคลดังต่อไปนี้ทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง (“ผู้ตรวจสอบฯ”) ตามที่ได้รับร้องเรียน
    1. (1) กรณีผู้ร้องเรียนเป็นพนักงานระดับต่ำกว่าประธานเจ้าหน้าที่บริหาร : ให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือ บุคคลหรือหน่วยงานที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมอบหมาย 
ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบฯ
    2. (2) กรณีผู้ร้องเรียนเป็นพนักงานระดับตั้งแต่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขึ้นไป : ให้คณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ บุคคลหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย 
ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบฯ ในกรณีนี้ ผู้ตรวจสอบฯ สามารถเชิญให้พนักงานคนหนึ่งคนใดมาให้ข้อมูล หรือขอให้จัดส่งเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงได้
  2. 2. หากตรวจสอบแล้วพบว่าเรื่องร้องเรียนเป็นความจริง บริษัทจะดําเนินการดังต่อไปนี้
    1. (1) ในกรณีที่เป็นการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการกระทําการอันทุจริต หรือผิดกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท ให้ผู้ตรวจสอบฯ พิจารณาเสนอข้อร้องเรียนดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาต่อไป
    2. (2) ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์หรือฐานะทางการเงินของบริษัท ขัดแย้งกับนโยบายในการดําเนินธุรกิจของบริษัท หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง 
เป็นต้น ให้ผู้ตรวจสอบฯ พิจารณาเสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาต่อไป
    3. (3) ในกรณีที่ข้อร้องเรียนให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้ตรวจสอบฯ จะเสนอวิธีการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้

การคุ้มครองปกป้องผู้ที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแส

      บริษัทให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบต่อสังคมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยบริษัทดำเนินการและควบคุมให้การให้บริการของบริษัทมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการดูแลรักษาและหลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม
  1. ผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผยอาจทําให้เกิดความเสียหายกับตนเอง แต่ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําที่เป็นการทุจริต หรือฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเลือกที่จะเปิดเผยตนเองก็จะทําให้ผู้รับข้อร้องเรียนสามารถดําเนินการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
  2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียน บริษัทถือเป็นความลับและจะเปิดเผยเท่าที่จําเป็นโดยคํานึงถึงความปลอดภัย และความเสียหายของผู้รายงานแหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบในทุกขั้นตอนจะต้องเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับรู้ชั้นความลับสูงสุด และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนถือเป็นการกระทําความผิดวินัย
  3. คณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย อาจพิจารณากำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนได้ตามความเหมาะสม หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายหรือความไม่ปลอดภัยต่อผู้ร้องเรียน อันเนื่องมาจากการร้องเรียนตามนโยบายฉบับนี้
  4. พนักงานที่ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นนั้น อันมีเหตุจูงใจมาจากการที่บุคคลอื่นนั้นได้ร้องเรียน ได้แจ้งข้อมูล ร้องเรียนหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักข้อ
พึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท รวมไปถึงการที่บุคคลอื่นนั้นฟ้องร้องดําเนินคดี เป็นพยาน ให้ถ้อยคํา หรือให้ความร่วมมือใดๆ ต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐถือเป็นการกระทําความผิดวินัยที่ต้องได้รับโทษ ทั้งนี้อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้หากการกระทําความผิดตามกฎหมาย
  5. ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยวิธีการหรือกระบวนการที่มี
ความเหมาะสมและเป็นธรรม
      นโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท และข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด