เที่ยวปีใหม่ปลอดภัย ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรที่ต้องรู้


      ทุกคนรู้หรือไม่ว่า ป้ายสัญลักษณ์จราจร ที่พบเห็นบนถนนสาธารณะ ล้วนมีความหมายสำคัญ ที่ผู้ใช้ถนนควรเคารพและปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนป้ายจราจรนั้น ๆ จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจร นำมาซึ่งการเสียค่าปรับได้ เพราะฉะนั้นเราควรทราบความหมายของป้ายจราจรทั้งหมดเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

 

ประเภทของป้ายจราจร

      เมื่อมีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก ป้ายจราจรมีส่วนช่วยจัดระเบียบการเดินทางบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักป้ายเตือนจราจรทั้งสามประเภทกันก่อน เริ่มกันเลย

ป้ายจราจรบังคับ

      ทำหน้าที่บังคับให้ผู้ใช้ถนนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากมีการฝ่าฝืนจะถือว่าไม่เคารพกฎจราจร ซึ่งมีความผิดทางกฎหมายทันที เช่น ป้ายห้ามจอด ,ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย ,ป้ายห้ามแซง เป็นต้น

ป้ายจราจรเตือน

      เป็นป้ายที่สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นการเตือนให้ผู้ใช้ถนนทราบล่วงหน้าว่า การจราจรมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอุบัติเหตุอะไรขึ้น เพื่อที่ผู้ใช้ถนนจะได้เตรียมตัวระวังล่วงหน้า เช่น ป้ายลดความเร็ว ,ป้ายข้ามทางรถไฟ ,ป้ายทางโค้งขวา เป็นต้น

ป้ายจราจรแนะนำ

      สำหรับป้ายประเภทนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ถนนถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวกขึ้น เพราะจะมีป้ายคอยบอกทิศทาง หรือข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างการเดินทาง เช่น ป้ายกลับรถ ,ป้ายทางลัด ,ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น

 

เที่ยวปีใหม่ปลอดภัย ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

 

รวม 12 ป้ายจราจรที่ต้องรู้

      การมีป้ายจราจรที่คอยจัดระเบียบความเรียบร้อยให้กับถนน ทำให้ผู้ใช้ถนนมีระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีกฎการใช้เครื่องหมายจราจรที่ชัดเจน หากทำผิดก็ย่อมต้องได้รับการลงโทษ ดังนั้นเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก 12 ป้ายจราจรสำคัญ ที่จำเป็นต้องรู้ไว้

1. ป้ายห้ามจอด

      มีความหมายว่า ไม่ว่ารถเล็กหรือใหญ่ก็ห้ามจอดในบริเวณนี้ แต่จะมีข้อละเว้นในกรณีที่จอดรถชั่วคราวอย่างการรอรับหรือการส่งคน ส่งสิ่งของ แต่ต้องใช้เวลาในการจอดไม่นานนัก

2. ป้ายหยุด

      เป็นป้ายจราจรที่บังคับให้รถทุกคันหยุด จากนั้นมองทางรถ หากเห็นว่าปลอดภัย จึงค่อย ๆ เคลื่อนรถอย่างระมัดระวัง

3. ป้ายห้ามแซง

      เป็นป้ายจราจรที่เตือนให้ขับรถอย่างรถระวัง ไม่ควรแซงรถคันอื่น หากเกิดอุบัติเหตุใด ๆ จากการละเมิดป้ายห้ามแซง ผู้ละเมิดกฎจะเป็นฝ่ายผิดทันที ถึงแม้ถนนจะดูปลอดภัยในการแซงก็ตาม

4. ป้ายห้ามเข้า

      หากสถานที่ใดติดตั้งเครื่องหมายจราจรนี้ จะหมายถึงว่าห้ามรถทุกชนิดเข้า

5. ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน

      ผู้ใช้รถทุกประเภท เมื่อเห็นป้ายสัญลักษณ์จราจรนี้ให้หยุดตรงป้ายทันที เพื่อรอให้รถที่กำลังสวนทางมาไปก่อน จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนรถไปต่ออย่างระมัดระวัง

6. ป้ายห้ามหยุดรถ

      เป็นป้ายจราจรที่ห้ามหยุดรถ หรือจอดรถทุกชนิดในบริเวณแนวทางรถตรงนั้นเป็นอันขาด จะแตกต่างจากป้ายห้ามจอด ที่สามารถหยุดรถได้ในระยะเวลาอันสั้น

7. ป้ายจำกัดความเร็ว

      ผู้ใช้รถทุกชนิดจะถูกบังคับให้ขับรถด้วยความเร็วตามที่ป้ายจราจรกำหนด เช่น ป้ายจำกัดความเร็ว 50 หมายความว่า ให้ขับรถในความเร็วไม่เกินกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขับต่อไปจนกว่าจะพ้นระยะป้ายจำกัดความเร็ว

8. ป้ายห้ามกลับรถ

      จะมีทั้งป้ายห้ามกลับรถทางขวาและทางซ้าย ซึ่งก็หมายความว่า ห้ามรถทุกชนิดกลับรถไปทางขวาหรือทางซ้าย ตามที่เครื่องหมายจราจรได้แจ้งไว้

9. ป้ายจำกัดความสูง

      ห้ามไม่ให้รถทุกชนิดเข้าเขตทางหรืออุโมงค์ ที่มีความสูงรวมทั้งตัวรถและของที่บรรจุมา ไม่เกินตามที่สัญลักษณ์จราจรระบุไว้ โดยมีหน่วยเป็นเมตร

10. ป้ายทางลื่น

      เป็นป้ายจราจรที่ช่วยเตือนให้ผู้ใช้รถระมัดระวังในการขับขี่รถให้มากขึ้น เพราะทางถนนด้านหน้าอาจเปียกชื้นส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

11. ป้ายสัญญาณจราจร

      ไฟจราจรจะมีทั้งหมดสามสี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว โดยจะคอยให้สัญญาณหยุดรถ เบารถ หรือขับต่อไปได้ ตามสัญญาณไฟจราจร

12. ป้ายระวังคนข้ามถนน

      มักจะเห็นป้ายสัญลักษณ์จราจรนี้ ในบริเวณชุมชนที่มีผู้อาศัยเดินข้ามถนนไปมา ผู้ใช้รถควรขับรถให้ช้าลง และถ้าหากเห็นคนกำลังจะข้ามถนน ให้หยุดรถเพื่อให้ผู้คนได้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย

 

สรุปบทความ

      เห็นไหมว่า การทำตามกฎระเบียบจราจรไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด หากเรารู้จักประเภทและความหมายของแต่ละป้ายจราจร เพียงเท่านี้ทั้งเราและเพื่อนร่วมทางก็จะสามารถใช้ถนนร่วมกันได้อย่างปลอดภัย แต่อย่างที่เราทราบ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา กันไว้ดีกว่าแก้ เลือกประกันรถยนต์ ที่มีคุณภาพ ติดต่อเราได้ที่นี่

 


เขียนโดย : SILKSPAN SPECIALIST
เผยแพร่วันที่ : 29/09/2023
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 30 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด