ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 750 บาท/เดือน ที่ SILKSPAN

รวม 7 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ยางรถแตก


ไขข้อสงสัย ยางรถแตกเกิดจากอะไร

เชื่อว่าหลายคนคงเคยประสบปัญหายางรถแตกกันมาบ้างแล้ว ยิ่งรถที่ใช้มานานก็ยิ่งต้องระวัง ซึ่งถ้าผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ สิ่งที่ตามมา คือ อาจก่อให้เกิดการสูญเสียหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ายางรถอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ? ยางรถแตกเกิดจากอะไร ? ยางรถแตก ห้ามทำอะไร ? และที้สำคัญสามารถเคลมประกันในกรณีนี้ได้มั้ย ? วันนี้เราจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัยกัน

 

ความสำคัญของยางรถยนต์

ยางรถยนต์ถือเป็นส่วนประกอบของรถที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะยางรถยนต์มีผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่โดยตรง ซึ่งยางรถยนต์ที่ดีจะต้องจับเกาะถนน มีเสถียรภาพในการควบคุมระบบขับเคลื่อนและระบบเบรก เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่บังคับทิศทางรถได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าใช้ยางรถยนต์ที่ไม่มีคุณภาพ ก็จะทำให้ยางแตกหรือยางระเบิดได้ง่าย แน่นอนว่าส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างแน่นอน

 

7 สาเหตุ ที่ทำให้ยางรถแตก

รถยนต์ยางแตกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ SILKSPAN ได้รวบรวมประเด็นสำคัญเอาไว้ทั้งหมด 7 สาเหตุ ดังต่อไปนี้

1. ยางรถเสื่อมสภาพ

ยางรถที่เสื่อมสภาพมักมีลมยางอ่อนกว่าปกติ เจ้าของรถควรเช็กยางรถเป็นประจำและเติมลมยางบ่อยแม้ไม่มีรอยรั่ว รวมถึงดูว่ามีรอยฉีกขาด ดอกยางสึกหรอหรือไม่ หากพบว่ายางรถมีเสียงดังตอนเบรกจะต้องรีบเปลี่ยนยางใหม่ทันที

2. บรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐาน

หากรถบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ จะทำให้ยางรถแบกรับน้ำหนักไม่ไหว โดยเฉพาะบริเวณแก้มยาง หรือขอบยาง

3. ยางรถเกิดความร้อน

อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำมาก เช่น ร้อนจัดหรือหนาวจัด สามารถทำให้ยางรถแตกหรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ไฟไหม้รถได้

4. ยางรถไม่มีคุณภาพ

การเลือกใช้ยางรถไม่มีคุณภาพ มีเปอร์เซ็นต์หรือสภาพไม่เต็มร้อย หรือใช้ยางรถราคาถูกที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน นอกจากจะทำให้การยึดเกาะถนนไม่ดี เสี่ยงต่อการลื่นไหลแล้วยังทำให้รถยางแตกได้ง่ายอีกด้วย

 

 

ประกันรถยนต์ชัั้น 1 ราคาสบายกระเป๋า ผ่อนนาน 0%

สาเหตุ ที่ทำให้ยางรถแตก

5. ขับขี่ด้วยความเร็วสูง

การขับรถขับขี่ด้วยความเร็วสูงเกินพิกัดยางที่กำหนด ก็สามารถทำให้เกิดยางรถระเบิดได้ และยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

6. เติมลมยางไม่เหมาะสม

เติมลมยางไม่เหมาะสม อ่อนเกินไป หรือแข็งเกินไปก็สามารถทำให้ยางรถแตกได้ แนะนำให้ตรวจสอบและปรับความดันอากาศตามค่าที่ระบุในคู่มือของผู้ผลิต

7. เลือกขนาดยางไม่เหมาะสม

เลือกขนาดยางรถไม่เหมาะสม เช่น ขนาดยางไม่พอดี ใช้ยางกับรถผิดประเภท ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถยางแตกได้

 

ยางรถแตก ห้ามทำอะไร ?

  • ห้ามเหยียบเบรกแรง ๆ โดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้รถหมุนไปชนกระแทกจนเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
  • ห้ามเหยียบคลัตช์ เพราะถ้าเหยียบคลัตช์แล้วรถจะไม่เกาะถนน ทำให้รถลอยตัว
  • ห้ามดึงเบรกมือเด็ดขาด แนะนำให้ประคองรถเข้าข้างทาง ถอนคันเร่งออก จับพวงมาลัยให้นิ่ง และมีสติตลอดเวลา

ยางรถแตก เคลมประกันได้หรือไม่ ?

ยางรถแตก เคลมประกันได้หรือไม่ ? ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ตามที่บริษัทประกันรถยนต์กำหนด แต่โดยทั่วไปแล้วมักไม่ครอบคลุมความเสียหายของยางรถ ประกันรถยนต์จะครอบคลุมแค่ความเสียหายจากทรัพย์สินหรือความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุที่ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบ ซึ่งความคุ้มครองประกันรถยนต์จะเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์นั้น ๆ

สรุปเกี่ยวกับกรณียางรถแตกเกิดจากอะไร

สรุปเกี่ยวกับกรณียางรถแตกเกิดจากอะไร

แน่นอนว่าปัญหายางรถแตก คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้เลย SILKSPAN แนะนำให้ผู้ขับขี่ดูแลเอาใจใส่ยางรถอย่างสม่ำเสมอ และควรศึกษาวิธีรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินเอาไว้ล่วงหน้า เพราะอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้นการมีสติและมีความรู้เบื้องต้นในการจัดการกับปัญหาจะช่วยให้เราปลอดภัยจากสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้

อย่างการทำประกันรถยนต์ ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยคุณได้ SILKSPAN พร้อมให้บริการประกันรถยนต์แบบครบวงจร มีบริการสินค้าประกันออนไลน์ บัตรเครดิต และสินเชื่อออนไลน์ ที่พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้ากว่า 4 ล้านคน ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสามารถเปรียบเทียบและเลือกสินค้าประกันที่เหมาะสมสำหรับคุณ ให้บริการที่ครบวงจร สะดวก และรวดเร็ว

 


เขียนโดย : SILKSPAN SPECIALIST
เผยแพร่วันที่ : 21/11/2023
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์! ซื้อประกันรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN รับสิทธิประโยชน์

  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 30 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด