ทำความรู้จักกับ ตรอ. ชื่อที่คนมีรถทุกคนควรต้องรู้จัก
สำหรับผู้ที่เพิ่งมีรถยนต์เป็นของตนเองครั้งแรก อาจจะไม่ค่อยคุ้นชินสักเท่าไหร่กับคำว่า “ตรอ.” เนื่องจากยังไม่ได้อยู่ใกล้ตัวเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ขับรถมาแล้วกว่า 5 ปี รวมไปถึงผู้ที่มียานพาหนะไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ น่าจะต้องคุ้นเคยกับชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะมีความสำคัญในด้านของการ “ต่อภาษีประจำปี” ของรถที่คุณนั้นครอบครอง บทความนี้เราจะพาคุณได้ทำความรู้จักกว่า ตรอ. คืออะไร พร้อมเรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย
ตรอ. คืออะไร ?
ตรอ. นั้นย่อมาจาก “สถานตรวจสภาพรถเอกชน” เป็นสถานที่สำหรับการตรวจสอบสภาพรถ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ ในทุก ๆ ปี อาจจะต้องมาใช้บริการที่แห่งนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เนื่องจากการตรวจสอบสภาพรถนั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนของ “ต่อภาษีประจำปี” เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ในตอนนี้รถของคุณพร้อมสำหรับการขับขี่บนท้องถนน ตามปกติแล้วจะต้องดำเนินการตรวจสอบที่กรมการขนส่งทางบก แต่เพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น จึงกำหนดให้มีสถานตรวจสภาพรถ ตรอ. ซึ่งเป็นของเอกชน ที่สามารถดำเนินการตรวจสอบสภาพรถก่อนจะนำไปรถไปต่อภาษีประจำปีได้เช่นเดียวกัน
ใครบ้างที่จะต้องนำรถไปตรวจสภาพกับ ตรอ. ก่อนต่อภาษี
หลังจากได้รู้แล้วว่า ตรอ. คืออะไร ต่อมาคุณจะต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องได้ใช้บริการของ ตรอ. สำหรับผู้ที่มีชื่อครอบครองรถ เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด คุณจะต้องดำเนินการนำรถเข้าตรวจสอบสภาพในทุก ๆ ปี สำหรับเกณฑ์ของการเช็คสภาพรถก็จะมีดังต่อไปนี้
- ผู้ที่ครอบครองรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
- ผู้ที่ครอบครองรถยนต์ส่วนตัว (นั่งได้ไม่เกิน 7 คน) อายุการใช้งาน 7 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
- ผู้ที่ครอบครองรถยนต์ส่วนตัว (นั่งได้เกิน 7 คน) อายุการใช้งาน 7 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
- ผู้ที่ครอบครองรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุการใช้งาน 7 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
ตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ต้องตรวจสอบส่วนไหนบ้าง ?
สำหรับเนื้อหาต่อจากนี้ อาจไม่ได้จำเป็นสำหรับเจ้าของรถมากนัก แต่รู้ไว้ก็น่าจะช่วยทำให้คุณอยากดูแลทะนุถนอมรถให้มากยิ่งขึ้น เพราะในการตรวจสภาพรถ ตรอ. จะมีขั้นตอนการตรวจสอบที่ค่อนข้างละเอียด เรียกได้ว่าตรวจเกือบทุกซอกทุกมุมของตัวรถเลยก็ว่าได้ โดยมีการตรวจสอบหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
· ตรวจสอบทั้ง ภายใน และ ภายนอกของรถ
ในการตรวจสภาพรถ ตรอ. เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจรถโดยรอบในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ อย่างเช่น สภาพโดยรวมของรถ ประตู กระจก ยางรถยนต์ และ ส่วนอื่น ๆ ว่าพร้อมต่อการขับขี่หรือไม่ และจะเพิ่มความละเอียดมากยิ่งขึ้น ด้วยการตรวจสอบภายในของรถ ลองขยับพวงมาลัย ของเปิดที่ปัดน้ำฝน เปิดปิดกระจก หรือ บีบแตร เป็นต้น
· ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสำคัญของรถ
รถที่จะผ่านเกณฑ์ของการตรวจสภาพรถกับ ตรอ. จะต้องเป็นรถที่ไม่ได้ผ่านการดัดแปลงที่ผิดกฎหมาย รวมไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ระบุเอาไว้ในสมุดทะเบียนรถ จะต้องตรงกับสภาพรถที่นำมาตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็น รุ่นของรถ สีของรถ ป้ายทะเบียน และ เลขบนตัวถังรถ เป็นต้น หากมีการดัดแปลงในส่วนไหน เจ้าของรถจะต้องมีเอกสารมายืนยันอย่างชัดเจน
· ตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในรถ
แม้จะยังเป็นรถในระบบสันดาป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบไฟฟ้ามีส่วนสำคัญต่อตัวรถ ในการตรวจสอบภายใน ตรอ. ระบบไฟทั้งหมดของรถจะต้องได้รับการตรวจสอบ เริ่มต้นที่ คุณภาพของแบตเตอรี่ ระบบแผงวงจรต่าง ๆ ไฟส่องสว่างทุกดวงบนรถ ไฟสัญญาณต่าง ๆ และ ทุก ๆ ระบบที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า จะได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด
· ตรวจสอบระดับเสียงของท่อไอเสีย และ ปริมาณควันดำ
อ้างอิงจากประกาศกรมขนส่งทางบก เรื่องของการกำหนดมาตรฐานเสียงของรถยนต์ ฉบับล่าสุดในปี พ.ศ. 2561 ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน ว่า ในรถยนต์จะต้องมีเสียงจากท่อดังไม่เกิน 100 เดซิเบล ในช่วงที่ทำความเร็ว 3 ใน 4 ของรอบความเร็วสูงสุด พร้อมกับตรวจวัดเขม่าควันดำที่ปล่อยออกมาจากท่อ หากมีปริมาณเกินกว่ากำหนด จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อมาตรวจสอบที่ ตรอ. ใหม่อีกครั้ง
· ตรวจสอบระบบการควบคุมรถ
ระบบการควบคุมรถที่เรากำลังกล่าวถึง มีตั้งแต่การตรวจสอบศูนย์ของล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบการควบคุมรถ รวมไปถึง ระบบเบรก ในกระบวนการนี้ค่อนข้างจะใช้ระยะเวลาอยู่พอสมควร เนื่องจากเป็นส่วนที่สำคัญในด้านของความปลอดภัยของการขับขี่ แม้คุณจะขับรถทุกวัน ก็อาจจะไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ จึงทำให้การนำรถเข้ามาตรวจสอบกับ ตรอ. ในทุก ๆ ปี มีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นเอง
ต่อภาษีรถทุกปี ยังจำเป็นต้องมีประกันภัยรถยนต์หรือไม่ ?
สำหรับผู้ที่ตรวจสภาพรถกับ ตรอ. แล้วไม่ผ่าน อาจกำลังสงสัยว่าจะต่อภาษีได้ไหม ? คำตอบคือ “ได้” เพราะจะมีการลิสต์รายการที่คุณจะต้องดำเนินการแก้ไขมาให้ เมื่อคุณแก้ไขเสร็จเรียบร้อยก็นำรถมาตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อให้ผ่านการตรวจสอบ จากนั้นก็นำรถไปต่อภาษีประจำปีได้อย่างง่ายดาย ส่วนใครที่กำลังสงสัยว่า พ.ร.บ. รถก็ต่อทุกปี ยังจำเป็นต้องเสียเงินซื้อประกันรถยนต์หรือไม่ ?
คำตอบในส่วนนี้เป็นได้ทั้ง “ไม่จำเป็น” เพราะไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น1 หรือชั้นไหนๆ ถ้าหากประกันรถยนต์เป็นแบบภาคสมัครใจ กฎหมายไม่ได้บังคับเหมือนอย่างการต่อภาษีของรถที่จะต้องทำทุกปี แต่ถ้ามองในความมั่นคงเราก็อยากแนะนำว่า “ควรทำ” เพราะการคุ้มครองของ พ.ร.บ. จะดูแลเฉพาะคุณเท่านั้น ในเรื่องค่าเสียหาย ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาคู่กรณี ต่าง ๆ นั้นไม่ได้ดูแล ยิ่งเป็นประกันที่มีการดูแลครอบคลุม ยิ่งทำให้คุณสามารถยิ้มได้เมื่อภัยมา
บทส่งท้าย
เราหวังว่าเนื้อหาในบทความนี้ จะช่วยทำให้คุณได้เข้าใจเรื่องของการตรวจสภาพรถ ตรอ. มากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่กำลังจะต่อภาษีรถ และ รถอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องตรวจสอบสภาพรถ ให้มองหา ตรอ. ใกล้บ้านคุณ เอกสารที่ใช้ก็เพียงแค่สมุดเล่นทะเบียนรถ หรือ สำเนาเท่านั้น ราคาก็ได้รับการกำหนดเอาไว้ที่ รถยนต์ประมาณ 150 ถึง 250 บาท/คัน และ รถจักรยานยนต์อยู่ที่ 60 บาท/คัน
สุดท้ายนี้หากประกันรถของคุณก็ใกล้จะหมด SILKSPAN พร้อมแนะนำประกันจากบริษัทชั้นนำกว่า 20 แห่ง ให้คุณได้เลือกซื้อ สามารถมองหาประกันที่เหมาะกับคุณได้ด้วยตนเอง ผ่านบริการเปรียบเทียบราคาประกันภัยของเรา หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE@ : @silkspan