7 เรื่องที่คุณควรต้องรู้ เกี่ยวข้องกับ พรบ. รถยนต์ ในปี 2567
เมื่อกล่าวถึง พรบ. รถยนต์ เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เพราะนี่คือสิ่งที่คนใช้ยานพาหนะทุกคน ควรต้องมีติดรถเอาไว้ เนื่องจากนี่คือ “ประกันภัยภาคบังคับ” ซึ่งที่จริงแล้วควรจะต้องใช้คำว่า “ต้องมีติดรถเอาไว้” เสียมากกว่า แต่เชื่อเลยว่ายังมีอีกหลายต่อหลายเรื่องราว ที่คุณยังไม่รู้ หรือ อาจจะกำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พรบ. เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านั้น เราอยากจะหยิบเอา 7 เรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ พรบ. มาฝาก จะน่าสนใจมากแค่ไหน เชิญรับชมได้เลย !
1.พรบ. รถยนต์ ไม่ใช่ “ภาษีรถยนต์”
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่ายังมีคนจำนวนไม่น้อย ที่เข้าใจผิดว่า ป้ายที่จะต้องติดแสดงเอาไว้ที่รถ นั่นเป็น พรบ. รถยนต์ รวมถึง พรบ. รถจักรยานยนต์ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วนั่นไม่ใช่ พรบ. !!! นั่นคือ “ป้ายภาษีรถ” เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำคัญของการใช้รถทุกประเภท แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน พรบ. จริง ๆ จะเป็นเพียงเอกสารใบเสร็จ ที่มีขนาดเท่ากระดาษ A4 ซึ่งสามารถพกในรูปแบบสำเนาได้ และ ไม่ต้องนำไปติดบนกระจกรถให้ยุ่งยาก เพราะถ้าคุณติดป้ายภาษีรถ ที่ยังไม่หมดอายุอย่างชัดเจน แสดงว่าคุณได้ดำเนินการต่อ พรบ. รถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. ค่าธรรมเนียมของการต่อ พรบ. รถแต่ละประเภท
เนื่องจาก พรบ. รถยนต์ นั้นจำเป็นจะต้องต่อแบบปีต่อปี และการปล่อยให้ พรบ. ขาดนั้นมีโทษค่อนข้างสูงเลยทีเดียวเมื่อถูกตรวจพบ ดังนั้นการต่อ พรบ. รถเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรจะทำ ซึ่งสำหรับ พรบ. รถยนต์สามารถต่ออายุล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุได้ที่ 90 วัน ในส่วนของค่าธรรมเนียมของรถแต่ละประเภทก็จะมีดังนี้
- รถจักรยานยนต์ ส่วนบุคคล และ รับจ้าง เริ่มต้น 161.57 ถึง 323.14 บาท (คิดตาม ซี.ซี.)
- รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ค่าธรรมเนียม 323.14 บาท
- รถเก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียม 600 บาท
- รถพ่วง ค่าธรรมเนียม 600 บาท
- รถกระบะ ไม่เกิน 3 ตัน ค่าธรรมเนียม 900 บาท
- รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียม 1,100 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักมากกว่า 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ค่าธรรมเนียม 1,220 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักมากกว่า 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ค่าธรรมเนียม 1,310 บาท
- รถโดยสาร จำนวน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียม 2,050 บาท
- รถหัวลากจูง ค่าธรรมเนียม 2,370 บาท
- รถโดยสาร จำนวน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียม 3,200 บาท
3.ปัจจุบันสามารถต่อ พรบ. รถยนต์ ออนไลน์ได้แล้ว
การต่อ พรบ. รถยนต์ในปัจจุบันทำได้ง่ายแสนง่าย เพราะสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ทั้ง แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax และ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการโดยที่ไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน โดยสิ่งที่จะต้องเตรียมคือ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการต่อ พรบ. และ ภาษีรถยนต์ พร้อมไฟล์เอกสารต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้รูปถ่ายจากเอกสารจริงได้ ทว่าจะต้องสมัครสมาชิกกับเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกเสียก่อน จากนั้นดำเนินการในเมนู “ชำระภาษีรถประจำปี” เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ทั้ง ป้ายภาษี และ ใบเสร็จ พรบ. จะถูกส่งมาให้คุณผ่านไปรษณีย์
4. รถยนต์ที่มีอายุใช้งานเกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ พรบ.
หากต้องการจะต่ออายุ พรบ. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 7 ปี คุณจำเป็นต้องนำรถเข้าตรวจสอบสภาพการใช้งานที่ ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) เสียก่อน เพื่อเป็นการยืนยันว่า รถของคุณพร้อมที่จะนำมาขับบนท้องถนนจริง ๆ หลังจากตรวจสภาพรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ค่อยนำเอกสารที่ได้จาก ตรอ. มาประกอบการยื่นต่ออายุ พรบ.
5. พรบ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง ?
ไม่ว่าจะเป็น พรบ. รถจักรยานยนต์ หรือ รถยนต์ ต่างก็ขึ้นชื่อว่าเป็น “ประกันภัยภาคบังคับ” เมื่อเกิดอุบัติเหตุคุณจะได้รับความคุ้มครองจาก พรบ. โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” จะดูแลในส่วนของ ค่ารักษาพยาบาล และ เงินชดเชยกรณีที่เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ ให้กับผู้เกี่ยวข้องในอุบัติเหตุครั้งนั้น เป็นเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่ไต่สวนว่าถูกหรือผิด อีกส่วนจะเป็น “ค่าสินไหมทดแทน” จะได้รับก็ต่อเมื่อคุณเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น ซึ่งจะได้รับเป็น ค่ารักษาพยาบาล , เงินชดเชยกรณีพิการ หรือ เสียชีวิต และ เงินชดเชยรายวัน เป็นต้น
6. โทษของการต่อ พรบ. รถยนต์ ล่าช้า
การละเลยไม่ต่อ พรบ. รถยนต์ มีโทษทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยในทางกฎหมาย หากคุณขับรถที่ไม่มี พรบ. หรือ ปล่อยให้ พรบ. หมดอายุ คุณจะระวางโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท เมื่อถูกตรวจพบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ ยังมีผลเสียอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น เสียสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครอง หากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างที่ พรบ. หมดอายุ , ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ จนกว่าจะต่ออายุ พรบ. เสียก่อน และ ถ้าเกิดอุบัติแล้วไม่มีประกันภาคสมัครใจ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เบื้องต้นคุณอาจจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน
7. ต่อ พรบ. รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง ?
การต่อ พรบ. รถยนต์ทุกวันนี้ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก เพราะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งด้วยตนเองอีกแล้ว เนื่องจากตอนนี้มีช่องทางให้เลือกมากมาย เช่น ต่อ พรบ. กับตัวแทนจำหน่าย ซึ่ง ตรอ. ที่รับตรวจสภาพรถบางแห่ง ก็รับดำเนินการต่อ พรบ. , การต่อ พรบ. ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของ กรมการขนส่งทางบก หรือ ถ้าบ้านของคุณอยู่ใกล้กับร้านสะดวกซื้อ 7-11 ก็สามารถต่อ พรบ. ผ่านบริการ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นต้น
บทส่งท้าย
ทั้ง 7 สิ่ง ล้วนเป็นเรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ พรบ. รถยนต์ ที่คุณควรต้องรู้ ในช่วงท้ายของบทความนี้ เราขอเน้นย้ำอีกสักครั้ง ว่าไม่ควรปล่อยให้ พรบ. ขาดเป็นอันขาด ยอมเสียเวลาสักนิดเพื่อจัดการให้ พรบ. พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับเราตอนไหน และ ถ้าจะให้ดีอย่าลืมมองหา “ประกันภัยภาคสมัครใจ” จะเป็นประกันชั้น 1 หรือชั้นไหนก็ควรมีติดรถไว้เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้การใช้รถใช้ถนนของคุณ หากไม่รู้ว่าจะซื้อประกันที่ไหน SILKSPAN ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้เจอกับข้อเสนอที่คุณต้องการมากที่สุด ด้วยบริการครบวงจร สามารถเปรียบเทียบราคาได้ พร้อมสิทธิพิเศษ ส่วนลด และ บริการผ่อนชำระ 0% โดยไม่ใช้บัตรเครดิต หากสนใจติดต่อได้เลยตอนนี้