บัตรเครดิต อนุมัติง่าย ทราบผลเร็ว ไม่ยาก

บัตรเครดิตใช้อย่างไรไม่ให้เป็นหนี้ ? เคล็ดลับคำนวณดอกเบี้ยที่คุณควรรู้


รู้ทันวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นหนี้

เมื่อชีวิตดำเนินมาถึงช่วงวัยที่ดูแลตนเองได้ มีหน้าที่การงานที่ชัดเจน เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีเป้าหมายอยากจะครอบครอง “บัตรเครดิต” อาจเป็นเพราะค่านิยม หรือ ด้วยเรื่องของความสะดวก รูดก่อนจ่ายทีหลัง แต่ความสะดวกสบายที่ได้มาก็เปรียบเสมือนกับดาบสองคม เพราะจากสถิติแล้วตอนนี้คนไทยจำนวนมาก กำลังเป็นหนี้บัตรเครดิต หากคุณไม่อยากเป็นหนึ่งในคนจำนวนนั้น เรามาเรียนรู้วิธีการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องกันดีกว่า พร้อมด้วยแนวทางการคำนวณดอกบัตรเครดิต ที่คนมีบัตรเครดิตทุกคนควรต้องรู้เอาไว้ !

 

บัตรเครดิตสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเงิน ที่เปรียบเสมือนกับ ดาบสองคม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “บัตรเครดิต” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ทั้งการที่ ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด หรือ สามารถใช้หมุนเงินในยามจำเป็นได้ รวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ได้จากการใช้บัตรอีกมากมาย ด้วยรูปแบบของเครดิตที่เปิดวงเงินให้ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง โดยจะมีช่วง “ระยะปลอดดอกเบี้ย “บัตรเครดิต” คืออะไร? ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ” หากชำระวงเงินที่ใช้ได้อย่างเต็มจำนวน ก็จะไม่มีดอกบัตรเครดิตให้ปวดหัว แต่ !! ถ้าชำระในจำนวนเต็มไม่ได้ หรือ เลือกชำระขั้นต่ำ จำนวนเงินที่เหลือนั้น ก็จะต้องนำมาใช้คำนวณดอกบัตรเครดิต ซึ่งนี่คือปัญหาที่คนไทยหลาย ๆ คนกำลังเผชิญนั่นเอง

รู้ทันวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นหนี้

ทำความรู้จักกับดอกเบี้ยบัตรเครดิต พร้อมวิธีการคำนวณ

เราคงบอกไม่ได้ว่า การที่สามารถคำนวณดอกบัตรเครดิตได้เอง จะการันตีได้ว่าคุณจะไม่เป็นหนี้ เพราะในบางทีเราก็พาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย ทั้ง ๆ ที่ “รู้ทั้งรู้” กันอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าการไม่รู้อะไรเลยก็แล้วกัน โดยดอกเบี้ยของบัตรเครดิตหลัก ๆ จะมีวิธีคำนวณหลัก ๆ อยู่ 2 กรณีด้วยกัน โดยเราจะมีกรณีตัวอย่างการใช้บัตรเครดิต พร้อมด้วยพฤติกรรมที่ใช้คำนวณอัตราดอกเบี้ย ดังต่อไปนี้

  • กรณีที่ จ่ายยอดเต็ม” แต่จ่ายเกินระยะเวลาที่กำหนด

หากเป็นกรณีที่ “ผิดนัดชำระหนี้” ไม่สามารถจ่ายได้ตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ ถึงจะเป็นการนำเอายอดเต็มมาจ่ายเพื่อปิดหนี้ แต่ก็หนีไม่พ้นที่จะโดนดอกเบี้ย พร้อมด้วยค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้จากธนาคาร 100 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% และอาจทำให้เสียประวัติการผ่อนชำระอีกด้วย เนื่องจากเป็นการจ่ายเพื่อปิดยอดทั้งหมด จึงมีเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยเงินต้นที่ต้องคำนวณ

กรณีตัวอย่าง : นายมั่งมี รูดซื้อสินค้าไปเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568 เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท มีกำหนดจ่ายในทุกวันที่ 25 ของเดือน และกำหนดชำระภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ซึ่งนายมั่งมีไม่ได้ชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนด แต่กลับจ่ายยอดเต็มในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

วิธีการคำนวณ ดอกเบี้ยเงินต้น” : ( ยอดเครดิตที่ใช้ไป x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน ) / 365

  • ยอดที่ใช้ไป : 30,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย : 16% (อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในปัจจุบัน)
  • จำนวนวัน : 5 มกราคม – 10 กุมภาพันธ์ เป็นจำนวน 36 วัน (นับตั้งแต่วันที่รูดซื้อสินค้า จนถึงก่อนวันที่จะชำระเพื่อปิดยอด 1 วัน)
  • แทนค่าต่าง ๆ ในสูตร : ( 30,000 x 16% x 36 ) / 365 = ต้องจ่ายดอกเบี้ย 473.425 บาท

รวมดอกเบี้ยที่ต้องเสีย : อัตราดอกเบี้ย + ค่าทวงถามหนี้ + ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าทวงถามหนี้ 7%

  • แทนค่าต่าง ๆ ในสูตร : 425 + 100 + ( 100 x 7% ) = ต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด 580.425 บาท

 

  • กรณีที่จ่ายตรงตามระยะเวลา แต่เป็นการ “จ่ายยอดขั้นต่ำ”

กรณีนี้จะเป็นการจ่ายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ แต่จะไม่ได้เป็นการจ่ายยอดทั้งหมด เป็นการจ่ายตามจำนวนขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดเอาไว้ ซึ่งจะกำหนดเอาไว้ที่ประมาณ 5% ถึง 10% เนื่องจากเป็นการจ่ายแล้วยังเหลือยอดคงค้างอยู่ ทำให้มีดอกเบี้ย 2 ประเภทที่จะต้องรับผิดชอบคือ “ดอกเบี้ยเงินต้น” และ “ดอกเบี้ยเงินค้างชำระ” โดยมีวิธีคำนวณตามกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้

กรณีตัวอย่าง : นายมั่งมี รูดซื้อสินค้าไปเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568 เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท มีกำหนดจ่ายในทุกวันที่ 25 ของเดือน และกำหนดชำระภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ซึ่งเมื่อถึงกำหนดจ่ายเงิน นายมั่งมีเลือกที่จะชำระเป็นจำนวนขั้นต่ำ 10% คิดเป็นจำนวน 3,000 บาท

วิธีการคำนวณ ดอกเบี้ยเงินต้น” : ( ยอดเครดิตที่ใช้ไป x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน ) / 365

  • ยอดที่ใช้ไป : 30,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย : 16% (อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในปัจจุบัน)
  • จำนวนวัน : 5 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ เป็นจำนวน 32 วัน (นับตั้งแต่วันที่รูดซื้อสินค้า จนถึงก่อนวันที่จะชำระเพื่อปิดยอด 1 วัน)
  • แทนค่าต่าง ๆ ในสูตร : ( 30,000 x 16% x 32 ) / 365 = ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินต้น 420.821 บาท

วิธีการคำนวณ ดอกเบี้ยค้างชำระ” : ( ยอดเงินคงค้าง x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน ) / 365

  • ยอดเงินคงค้าง : 30,000 – 3,000 บาท เหลือ 27,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย : 16% (อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในปัจจุบัน)
  • จำนวนวัน : 5 กุมภาพันธ์ – 25 กุมภาพันธ์ เป็นจำนวน 21 วัน (นับตั้งแต่วันที่จ่ายยอดขั้นต่ำ ไปจนถึงวันกำหนดจ่ายในเดือนถัดไป)
  • แทนค่าต่าง ๆ ในสูตร : (27,000 x 16% x 21) / 365 = ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินคงค้าง 248.548 บาท

หมายความว่า เมื่อถึงกำหนดจ่ายในเดือนถัดไป เท่ากับว่าจะเหลือยอดคงค้างพร้อมดอกเบี้ยอยู่ที่ 27,000 + 248.548 = 27,248.548 บาท

บัตรเครดิต อนุมัติง่าย ทราบผลเร็ว ไม่ยุ่งยาก

บัตรเครดิตกดเงินสดได้ไหม ? ดอกเบี้ยแตกต่างจากบัตรทั่วไปหรือไม่

บัตรเครดิตมีวิธีการใช้งานที่หลากหลาย นอกจากการใช้เพื่อรูดซื้อสิ่งของต่าง ๆ แล้ว ก็ยังสามารถใช้ “กดเงินสด” ได้อีกด้วย ซึ่งจะสามารถกดตามเท่ากับจำนวนวงเงินเครดิตที่เหลืออยู่ แต่ ! อัตราดอกเบี้ยจะไม่เหมือนกับการผ่อนชำระโดยทั่วไป เพราะมีในส่วนของ “ค่าธรรมเนียม” หลาย ๆ อย่างที่เพิ่มเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น บัตรเครดิตจาก KTC ที่ค่อนข้างเป็นที่พูดถึงเยอะที่สุดในอินเทอร์เน็ต ใครที่กำลังสงสัยว่าบัตรเครดิต KTC กดเงินสดดอกเบี้ยเท่าไหร่ ? ได้คำตอบแน่นอน

โดยดอกเบี้ยบัตรเครดิต KTC เมื่อกดเงินสดนั้นจะไม่เหมือนกับการรูดซื้อ เพราะ “ไม่มีระยะปลอดดอกเบี้ย” เมื่อกดเงินสดออกมาใช้แล้ว ก็จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันนั้นเลยทันที โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 16% ต่อปี และมีในส่วนของ ค่าธรรมเนียมการกดเงินสด และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเสียทุกครั้งที่กดเงินสด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่เหตุจำเป็นจริง ๆ แนะนำเลยว่า ไม่ควรกดเงินสดจากบัตรเครดิตมาใช้ ลองมองหาทางออกอื่นดูก่อนน่าจะดีที่สุด

 

เคล็ดลับใช้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธี เรียนรู้วันนี้ไม่เป็นหนี้ในวันข้างหน้า

ถ้าไม่อยากอยู่ในสถานการณ์ “หนี้สินล้นพ้นตัว” เมื่อได้เข้าใจหลักการทำงานของดอกเบี้ยบัตรเครดิตกันไปแล้ว น่าจะทำให้ผู้อ่านสามารถจับจุดกันได้แล้วว่า วิธีการใช้งานบัตรเครดิตอย่างปลอดภัยนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดยเราจะขอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

  • เข้าใจการทำงานของบัตรเครดิต ควรเข้าใจวิธีใช้งานที่ถูกต้อง วงเงินใช้อย่างไร ชำระอย่างไร มีระยะเวลาจ่ายแค่ไหน และ อัตราดอกเบี้ยมีวิธีคิดอย่างไร ควรรู้จักกับบัตรที่ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • กำหนดวงเงินการใช้อย่างมีสติ ไม่ใช่ว่าเราได้วงเงินมาเท่าไหร่แล้วจะใช้จนหมด ให้ใช้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นใช้เฉพาะที่มั่นใจว่าสามารถจ่ายได้ไหว
  • ชำระเต็มจำนวนให้ตรงตามเวลา หากไม่อยากโดนเล่นงานด้วยดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพียงชำระให้ตรงตามเวลาที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น และควรจ่ายให้เต็มจำนวน จะได้ไม่มีดอกเบี้ยจากเงินคงค้าง
  • เลี่ยงได้เลี่ยงกับการกดเงินสด การกดเงินสดจากบัตรเครดิตดอกเบี้ยจะสูงกว่าการใช้รูดซื้อ แถมยังมีค่าธรรมเนียมอีกหลายอย่าง ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรกดเงินสดออกมาใช้
  • ใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษต่าง ๆ ในบัตรเครดิตเกือบทุกใบจะมีระบบสิทธิพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการสะสมแต้ม หรือ การแลกซื้อต่าง ๆ ควรติดตามข่าวสารโปรโมชั่น และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

บทส่งท้าย

เห็นแล้วใช่ไหมว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิตไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิดเอาไว้ วิธีการหลัก ๆ คือ “จ่ายยอดเต็ม” และจะต้อง “จ่ายให้ตรงเวลา” เพียงเท่านี้ดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับคุณ และสำหรับผู้ที่กำลังเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่นั้น ในช่วงปี 2568 มีนโยบายจากทางรัฐ ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต ด้วยการยืดระยะเวลาการจ่ายขั้นต่ำออกไปจนถึงสิ้นปี ในช่วงเวลานี้เราหวังว่าทุกคนจะสามารถผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายไปได้ และไม่กลับเข้าไปในวงจรหนี้เดิม ๆ อีกในอนาคต


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 18/02/2025
โปรโมชั่นแนะนำ
taff-call
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”
line

กำลังโหลด