เช็กเบี้ยประกันรถล่วงหน้ากับ SILKSPAN แจกฟรี ค้อนนิรภัย 5 รางวัล

เบรกแล้วมีเสียง ต้องเช็กอะไรบ้าง


เบรกแล้วมีเสียง ต้องเช็กอะไรบ้าง

หากเหยียบเบรกแล้วได้ยินเสียงดังแปลกๆ มาจากช่วงล้อ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้คุณต้องเช็กทั้งระบบเบรก และระบบช่วงล่างของรถได้แล้ว

 

ระบบเบรก

อาการเบรกแล้วมีเสียงมักมีสาเหตุมาจากระบบเบรกโดยตรง ซึ่งมีวิธีตรวจสอบดังนี้

– ผ้าเบรก หากผ้าเบรกหมด จะทำให้เหล็กผ้าเบรกและจานเบรกที่เป็นเหล็กทั้งคู่เสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง ดังนั้นหากผ้าเบรกมีความหน้าน้อยกว่า 4 มม. ก็ถึงเวลาเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ได้แล้ว

แต่ถ้าหากได้ยินเสียงครืดๆ และมีอาการสั่นร่วมด้วย อาการนี้อาจเกิดจากผ้าเบรกแข็ง หรือผ้าเบรกจับจานไม่เต็ม ซึ่งทำให้องศาในการจับจานผิดเพี้ยนไป และทำให้เกิดเสียงดังขึ้น วิธีสังเกตคือให้ดูที่จานเบรก จะเห็นว่าสีของจานเบรกไม่สม่ำเสมอ อาการนี้แก้ได้ด้วยการเจียรจานเบรก หรือนำผ้าเบรกมาขัด

– จานเบรก หากมีรอยขูดขีด สึกหรอ รอยไหม้ หรือมีเศษหินเล็กๆ เข้าไป ให้เอาเศษหินออก และเจียรจานเบรกใหม่ แต่ถ้าจานเบรกบิดเบี้ยว หรือแตก ควรเปลี่ยนใหม่ทันที

– ก้ามเบรก ก้ามเบรกอาจผิดรูปได้ โดยเฉพาะกับรถที่เคยเกิดอุบัติเหตุ

แต่หากสาเหตุไม่ได้มาจากจานหรือผ้าเบรก อาจจะต้องตรวจสอบส่วนอื่นๆ ของระบบเบรก เช่นคาลิปเปอร์ หรือน๊อตตามจุดต่างๆ ที่อาจจะหลวม เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งที่ควรจะเป็น หรือหลุดหายไป

 

ประกันรถยนต์ชัั้น 1 ราคาสบายกระเป๋า ผ่อนนาน 0%

 

ช่วงล่าง

หากเสียงที่คุณได้ยินเวลาเบรกมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เรื่องปัญหาการทรงตัว หรือการบังคับทิศทาง นี่เป็นสัญญาณที่บอกให้คุณต้องเช็กสภาพช่วงล่างของรถด้วย ซึ่งส่วนนี้จะต้องให้ช่างช่วยตรวจสอบให้ ไม่ว่าจะเป็น ลูกหมากต่างๆ ลูกปืนล้อ ลูกยางเหล็กกันโครง ชุดบังคับเลี้ยว ยางแท่นเครื่อง และยางแท่นเกียร์ เพราะหากชิ้นส่วนเหล่านี้หลวม หรือชำรุด ก็อาจทำให้เกิดเสียงเวลาเบรกได้เช่นกัน

 

นอกจากการเช็กสภาพรถตามระยะแล้ว การสังเกตเสียง และอาการต่างๆ ของรถเวลาขับขี่ จะช่วยให้คุณสามารถคาดเดาปัญหาของรถและซ่อมแซมได้ทันท่วงทีก่อนที่ส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องอาจจะเสียตามมา ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการซ่อมแซมรถอีกด้วย

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 06/02/2022
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์! ซื้อประกันรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN รับสิทธิ์ประโยชน์

  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด