เที่ยวปีใหม่ปลอดภัย ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

ไฟสูงใช้อย่างไร ให้ไม่โดนว่า


ไฟสูงใช้อย่างไร ให้ไม่โดนว่า

หลายๆ คนคงมีประสบการณ์ถูกไฟสูงจากรถคันหลัง หรือรถที่สวนมาแยงตา ซึ่งนอกจากจะทำให้แสบตา มองเห็นยากขึ้น ก็มักจะทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดอยู่บ่อยๆ ถ้าอย่างนั้นจริงๆ แล้วไฟสูงนั้นใช้อย่างไรถึงจะถูกต้อง และไม่โดนรถคันอื่นบ่น

 

ระยะไฟของไฟหน้าธรรมดา และไฟสูง

ไฟหน้าธรรมดา ช่วยให้คุณสามารถมองเห็นในระยะ 60 เมตร ที่ความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ไฟสูง จะช่วยให้คุณมองเห็นในระยะ100-120 เมตร ที่ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

เที่ยวปีใหม่ปลอดภัย ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

 

ควรใช้ไฟสูงตอนไหน

โดยปกติแล้วคุณควรใช้ไฟสูงนอกเมือง หรือเขตชนบท ที่ไม่ค่อยมีรถวิ่งมากนัก ถ้ามีรถสวนมา หรือมีรถขับอยู่ข้างหน้า ก็ค่อยปรับเป็นไฟหน้าปกติ

แต่จังหวะที่ถนนมืดมาก และการเปิดไฟสูงจะช่วยให้คุณมองเห็นได้มากขึ้น ให้เริ่มจากลดความเร็วลงก่อน เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าประมาณ 100-120 เมตร (ตามระยะมองเห็นของไฟสูง) จากนั้นเช็กว่าไม่มีรถสวนมา แล้วจึงค่อยเปิดไฟสูง

ข้อสังเกตุง่ายๆ คือ ถ้าคิดว่าการเปิดไฟสูงจะทำให้คนขับรถคันอื่นแสบตา ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไฟหน้าปกติแทน

 

ไม่ควรใช้ไฟสูงตอนไหน

ในบางสถานการณ์ การเปิดไฟสูงไม่ได้ช่วยให้คุณมองเห็นได้ดีขึ้น แต่กลับทำให้แย่ลงด้วยซ้ำ เช่นเวลาที่มีหมอกหนา ฝนตกหนัก ไฟสูงจะสะท้อนกับหมอก ฝน กลับมาเข้าตาเรา ทำให้เรามองเห็นได้ยากขึ้นกว่าเดิม จึงควรเปลี่ยนมาใช้ไฟหน้าปกติดีกว่า หรือถ้ารถของคุณมีไฟตัดหมอก ก็ให้ใช้ไฟหน้าปกติ คู่กับไฟตัดหมอก เพราะไฟตัดหมอกจะสะท้อนเส้นถนน หรือแถบสีขอบฟุตบาท ช่วยให้เราขับอยู่ในเลนได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ คุณควรตรวจดูว่าฟิล์มที่ใช้ติดกระจกหน้ารถเข้มเกินไปหรือไม่ เพราะฟิล์มที่เข้มเกินไป หรือไม่ได้มาตรฐานทำให้แสงกระจัดกระจาย และทำให้คุณมองเห็นทางได้ยากขึ้น จนต้องใช้ไฟสูงโดยไม่จำเป็น

การขับรถที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเองแล้ว ควรจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมทางคนอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 09/11/2021
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 30 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด