ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 750 บาท/เดือน ที่ SILKSPAN

แอร์แบค ทำงานยังไง


แอร์แบค ทำงานยังไง

หนึ่งในความปลอดภัยที่รถต้องมีคือถุงลมนิรภัย หรือแอร์แบค ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตเมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ว่าแต่จะมีกี่คนที่เข้าใจหลักการการทำงานของแอร์แบคว่าทำงานอย่างไร ช่วยชีวิตเราได้อย่างไร มีอันตรายหรือไม่ และมีข้อควรระวังอย่างไร

แอร์แบคถูกออกแบบมาเพื่อลดอัตราการบาดเจ็บช่วงศีรษะ และคอจากการชน โดยจะช่วยไม่ให้ศีรษะกระแทกกับพวงมาลัยหรือแผงหน้าปัดด้านหน้า และยังช่วยไม่ให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อเวลาที่ศีรษะถูกเหวี่ยงไปข้างหน้า และหลังอย่างรวดเร็วจากการกระแทกกับของแข็ง

 

แอร์มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือ

1. ในจังหวะแรกแอร์แบคจะพองตัวแค่ 30%

เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารกระแทกกับแอร์แบคแล้วเหวี่ยงกลับไปชนกับพนักที่นั่งอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณคอ

2. จากนั้นจะพองตัว 100% ภายในเสี้ยววินาที

เพื่อไม่ให้ตัวของผู้โดยสารไปกระแทกกับของแข็งอื่นๆ ในห้องโดยสาร

นอกจากนี้การทำงานของแอร์แบคในรถรุ่นใหม่ๆ ยังสอดคล้องกับการคาดเข็มขัดนิรภัยด้วย โดยหากคุณไม่ได้คาดเข็มขัด แอร์แบคก็จะไม่ทำงาน เพราะผู้โดยสารไม่ได้ถูกยึดไว้กับที่นั่ง หากแอร์แบคทำงาน อาจทำให้ผู้โดยสารได้รับอันตรายมากกว่าเดิม

 

ประกันรถยนต์ชัั้น 1 ราคาสบายกระเป๋า ผ่อนนาน 0%

 

แอร์แบครู้ได้อย่างไรว่าต้องทำงานตอนไหน

เซ็นเซอร์แอร์แบคจะถูกติดตั้งไว้รอบๆ รถ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการทำงานของแอร์แบคในแต่ละจุด เช่นเซ็นเซอร์ของแอร์แบคบริเวณที่นั่งด้านหน้าจะอยู่บริเวณหลังกันชนหน้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เซ็นเซอร์จุดที่โดนกระทบจะทำให้แอร์แบคส่วนนั้นทำงานหากมีผู้โดยสารนั่งอยู่ที่ตำแหน่งนั้น เช่นหากถูกชนด้านข้าง ก็จะมีแต่แอร์แบคด้านข้างที่ทำงาน แอร์แบคด้านหน้าจะไม่ทำงานด้วย

 

มีข้อควรระวังอะไรหรือไม่

หากใช้อยากถูกวิธี แอร์แบคสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บได้ถึง 24% อย่างไรก็ตามเมื่อแอร์แบคทำงาน อาจมีเศษวัสดุบางอย่างที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ นอกจากนี้สำหรับรถที่มีเด็กเล็ก ไม่ควรวางคาร์ซีทแบบหันหลังไปด้านหน้าตรงจุดที่มีแอร์แบค เพราะนั่นอาจะทำให้เด็กได้รับแรงกระแทกจากการทำงานของแอร์แบคได้

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 16/03/2021
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์! ซื้อประกันรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN รับสิทธิประโยชน์

  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 30 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด