ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 750 บาท/เดือน ที่ SILKSPAN

5 ข้อสังเกต ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ ก่อนรถจะพัง


ข้อสังเกต ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ ก่อนรถจะพัง

        การมีประกันรถยนต์ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์ของคุณจะได้รับความคุ้มครอง และการดูแลในทุกๆด้าน การดูแลรักษาสภาพรถยนต์ให้พร้อมสำหรับการขับขี่อยู่เสมอยังเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ เช่น การตรวจสอบสภาพรถยนต์รอบคัน, ทำการเช็กระดับน้ำในหม้อน้ำ, เช็กลมยาง รวมไปถึงการเช็กน้ำมันเครื่อง ที่อาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าหากปล่อยไว้นานเกินไป ก็อาจทำให้รถสตาร์ทไม่ติด รถพัง เครื่องยนต์เสียหรือมีปัญหาใหญ่ได้เลยทีเดียว ซึ่งปัญหาหลายๆ อย่าง ถ้าเราปล่อยไว้อย่างไม่ได้ทำการดูแล จนเกิดการเสื่อมสภาพขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีประกันชั้น 1 ก็ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์ของเราจะเคลมได้นั่นเอง ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลรถยนต์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน โดยเฉพาะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ที่จะช่วยให้สมรรถนะของตัวเครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มที่อยู่เสมอ

“น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์” หรือ “น้ำมันเครื่อง” ที่ใครๆ ต่างรู้จักกัน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรถยนต์ ช่วยในด้านต่างๆ

  • หล่อลื่นลดแรงเสียดทานของระบบภายในรถยนต์
  • ระบายความร้อนเครื่องยนต์
  • ชะล้าง ทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่เกิดจากการเผาไหม้
  • ป้องกันสนิม และการกัดกร่อน
  • ป้องกันการรั่วของกำลังอัด

            สามารถทำการเช็กน้ำมันเครื่องด้วยตนเองง่ายๆ โดยการจอดรถให้อยู่ในแนวระนาบ ไม่ลาดเอียง ดับเครื่องยนต์ รอ 1-5 นาที แล้วค่อยทำการวัดระดับ โดยการดึงก้านวัดออกมาทำความสะอาด ก่อนจะเสียบกลับลงไปในจุดเดิม และดึงออกมาอีกครั้งเพื่อทำการเช็กระดับน้ำมัน หากอยู่ระหว่างขีด F กับ L หรือ Max กับ Min แสดงว่าปกติ แต่ถ้าน้อยไปอาจมีจุดรั่วซึมที่เกิดขึ้น หรือถ้าหากมากไปก็อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ 

            นอกจากการเช็กในข้างต้นแล้ว ก็มีอีก 5 ข้อสังเกตที่จะช่วยทำให้คุณตรวจสอบเบื้องต้นว่าเมื่อใดที่ควรต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

1.เสียงเครื่องยนต์ดังผิดปกติ

            อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นอะไหล่ภายในเสื่อมสภาพ และรวมไปถึงการที่น้ำมันเครื่องอาจเก่าเกินไป หรือไม่สะอาดก็ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ และมีเสียง 

 

2.รถเร่งเครื่องไม่ขึ้น วิ่งไม่ออก

            อาจมาควบคู่กับอาการที่รถกินน้ำมันมากกว่าปกติ อาการเหล่านี้มักมีสาเหตุจากการที่มีสิ่งสกปรกจากการเผาไหม้ต่างๆ จึงทำให้น้ำมันหล่อลื่นไม่สะอาด และไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำมัน

 

3.จอดรถไว้นานเกินไป

            หลายคนอาจมีความคิดว่า ในเมื่อจอดรถทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งาน ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่การจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานเกินไป สิ่งที่มักตามมา คือ การที่ไม่ได้ตรวจเช็กสภาพรถยนต์อยู่เสมอ ก็อาจทำให้เกิดฝุ่น หรือสิ่งสกปรกเกาะตัวเครื่องยนต์ และมีโอกาสที่น้ำมันหล่อลื่นจะแห้ง จึงทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้

 

4.สีน้ำมันเปลี่ยนไป

            สิ่งที่ควรสังเกตนอกเหนือจากระดับน้ำมันที่ก้านวัด คือ สีของน้ำมัน การที่น้ำมันมีสีที่เปลี่ยนไป เช่น มีสีที่ดำขึ้น เข้มขึ้น หรือหนืดขึ้น ก็แสดงว่ารถยนต์มีการใช้งานหนัก น้ำมันที่มีหน้าที่ช่วยชะล้าง ทำความสะอาดสิ่งสกปรกก็จะสีเข้มขึ้นด้วย ก็เป็นสัญญาณเตือนว่าควรทำการเปลี่ยนได้แล้ว

 

ประกันรถยนต์ชัั้น 1 ราคาสบายกระเป๋า ผ่อนนาน 0%

 

5.วิ่งครบตามระยะทาง หรือเปลี่ยนตามระยะเวลา

            รถยนต์ที่มีการขับขี่อยู่ตลอดเวลาสามารถเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้ตาม “ระยะทาง” ซึ่งสามารถดูตัวเลขที่หน้าปัดรถเทียบกับป้ายที่เรามักแขวนไว้ข้างพวงมาลัยที่แสดงระยะว่าเมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนน้ำมัน เมื่อถึงระยะทางที่กำหนดก็ควรทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง โดยทั่วไปมักมีการเปลี่ยนที่ทุกๆ 8,000-15,000 กิโลเมตร แต่ถ้าหากใช้งานบ่อยก็ควรทำการเช็ก และสามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 5,000 กิโลเมตร

วิ่งครบตามระยะทาง

วิ่งครบตามระยะทาง

            สำหรับรถยนต์ที่ไม่ค่อยมีการใช้งาน ไม่ได้ขับบ่อย ไม่ได้เดินทางบ่อย ตัวเลขไมล์ไม่ค่อยวิ่งสามารถเปลี่ยนได้ทุกๆ 6 เดือน – 1 ปี และสามารถยึดการเปลี่ยนน้ำมันจาก “ระยะเวลา” ได้

 

วิ่งครบตามระยะเวลา

วิ่งครบตามระยะเวลา

             เพียงเท่านี้รถยนต์ของคุณก็จะมีสภาพดี สมรรถนะตามมาตรฐาน ทำให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่ของทั้งตัวคุณ และผู้ร่วมใช้ถนน

 


เขียนโดย : ECOMONEY
เผยแพร่วันที่ : 11/10/2024
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์! ซื้อประกันรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN รับสิทธิ์ประโยชน์

  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด