ไม่จ่ายค่าปรับ-ใบสั่ง ไม่ได้ป้ายภาษี เริ่ม 1 เม.ย.66 นี้
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ออกมาตรการเพื่อสร้างวินัยทางจราจร และช่วยลดอุบัติเหตุ ในกรณีที่ผู้ขับขี่มีการค้างจ่ายค่าปรับ หรือใบสั่ง มีผลต่อการต่อภาษีรถยนต์(ต่อภาษีรถยนต์ – https://www.silkspan.com/article/auto/where-to-renew-motor-tax/)ประจำปี เริ่ม 1 เมษายน 2566 นี้แน่นอน
มาตรการไม่จ่ายค่าปรับ ไม่ได้ป้ายภาษีมีผลกับใครบ้าง
สำหรับมาตรการนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศว่ามีผลทั้ง “รถยนต์” และ “รถจักรยานยนต์” ด้วยเช่นกัน หากไม่ได้ทำการจ่ายค่าปรับ หรือค่าใบสั่งต่างๆให้เรียบร้อย ก็จะไม่สามารถต่อภาษีประจำปีได้
ต่อภาษีรถได้หรือไม่ ถ้าไม่จ่ายค่าปรับ
หลังจากวันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป จะผลบังคับใช้มาตรการนี้ แม้จะมีใบสั่งก็ยังคงสามารถต่อภาษีรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ได้ตามปกติ แต่จะได้เป็นหลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษีตัวจริง เพื่อให้สามารถนำไปค่าปรับที่ค้างไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน แล้วจึงจะสามารถขอรับป้ายภาษีตัวจริงได้หากยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้นก็จะไม่ได้ป้ายภาษีตัวจริง
ใช้หลักฐานชั่วคราว แทนการติดป้ายภาษี ผิดหรือไม่
สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 30 วันตามอายุของหลักฐานชั่วคราวตามปกติ และควรจ่ายค่าปรับของใบสั่งที่ค้างไว้อยู่ให้เสร็จสิ้น เพื่อจะได้รับป้ายภาษีตัวจริงภายในเวลาที่กำนหนด
หากเลิกจากกำหนดไป และไม่มีการติดป้ายภาษีตัวจริง มีโทษตามพ.ร.บ.รถยนต์ มาตรา 11 กำหนดว่ารถยนต์คันที่ต่อภาษีแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ และโดนตัดคะแนนใบขับขี่
หากไม่จ่ายค่าปรับ จะมีโทษอื่นๆอย่างไรบ้าง
หลังจากกรมการขนส่งทางบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสามารถเช็ก และตรวจสอบในกรณีที่มีผู้กระทำผิดได้รวดเร็ว และออกบทลงโทษได้นั่นเอง
มีโทษปรับ
หากฝ่าฝือนไม่ทำตามมาตรการ จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท
ตัดแต้มใบขับขี่
นอกจากจะไม่ได้ป้ายภาษีแล้ว ก็ยังโดนตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนนในฐานความผิดไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน หรือป้ายภาษีตามกฎหมาย
สามารถตรวจสอบความผิดอื่นๆที่จะโดนตัดแต้มใบขับขี่ได้ที่นี่ (ได้ที่นี่ – https://www.silkspan.com/article/auto/deduct-driver-license-point/)
ตรวจสอบใบสั่งค้างจ่ายได้อย่างไร?
สามารถตรวจสอบใบสั่งจ่าย และจ่ายออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงได้ที่ https://ptm.police.go.th/eTicket
1.ลงทะเบียน
ใช้หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขใบขับขี่ หรือหมายเลขทะเบียนรถและกำหนดรหัสผ่าน
2.เข้าสู่ระบบ
3.ค้นหาใบสังโดยระบุวันที่กระทำผิด
4.ระบบจะแสดงใบสั่งที่เคยได้รับ
หากมีหลายคันจะแสดงตามชื่อเจ้าของรถคนเดียวกัน
5.สามารถจ่ายค่าปรับออนไลน์ได้เลยผ่าน
- แอป Krungthai NEXT
- สถานีตำรวจ
- ธนาคารกรุงไทย
- ไปรษณีย์ไทย
- ตู้ ATM
- กรุงไทย
- ตู้บุญเติม
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ