ขาดต่อพ.ร.บ.ได้หรือไม่ ถ้าขาดต่อจะเกิดอะไรขึ้น
พ.ร.บ.รถยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่รถยนต์ทุกคันต้องมี การมีพ.ร.บ.ก็เปรียบเสมือนการมีประกันรถยนต์เบื้องต้นเลยทีเดียว สำหรับคนมีรถก็คงคุ้นเคยเป็นอย่างดีกว่าต้องทำการต่อพ.ร.บ.รถยนต์เป็นประจำทุกๆ ปี แล้วเข้าใจหรือไม่ว่าจริงๆ พ.ร.บ.จริงๆ คืออะไร แล้วมีไว้ทำอะไร ถ้าขาดต่อพ.ร.บ.จะเกิดอะไรขึ้น แล้วการต่อพ.ร.บ.รถยนต์เปรียบเสมือนการทำประกันภัยรถยนต์เหมือนการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบให้กับทุกคน
พ.ร.บ.รถยนต์ คือ?
พ.ร.บ.รถยนต์ ย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ถือว่าเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันที่ได้ทำการจดทะเบียนกับกรมขนส่งจำเป็นต้องทำ และต่ออายุพ.ร.บ. ซึ่งแปลความหมายง่ายๆ คือ ตัวพ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องมีนั่นเอง ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัย ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการใช้งานรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ โดยสามารถได้รับความคุ้มครองทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูก หรือเป็นฝ่ายผิด
รถยนต์ทุกคันต้องต่อพ.ร.บ.หรือไม่
รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ทุกคันจะต้องมีป้ายภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์ทุกคัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เองก็จำเป็นจะต้องจ่ายภาษี และต่อพ.ร.บ.เป็นประจำทุกปีนั่นเอง
พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง?
พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุจากการใช้งานรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูก หรือผิดก็ยังได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ. ซึ่งความคุ้มครองแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.คุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองในค่ารักษาพยาบาลทั้งในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ มีความรุนแรงถึงขั้นมีการสูญเสียอวัยวะ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต การคุ้มครองในเบื้องต้นนี้จะให้ความคุ้มครองโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งหมายถึงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิดก็สามารถได้รับความคุ้มครองเสียหายเบื้องต้นได้เช่นกัน
2.คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
การให้ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทนจะให้ความคุ้มครองในค่ารักษาพยาบาลในกรณีต่างๆ เช่นเดียวกับการคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น แต่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเมื่อพิสูจน์ได้แล้วเป็นฝ่ายถูก ซึ่งจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกัน
พ.ร.บ.รถยนต์ไม่คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง?
พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ แต่ก็ยังมีอีกบางกรณีที่พ.ร.บ.ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- เกิดอุบัติเหตุนอกอาณาเขตประเทศไทย
- เกิดความเสียหายที่เกิดจากการยักยอก
- เกิดความเสียหายจากการนำรถไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย
- เกิดความเสียหายจากการนำรถไปใช้ในการแข่งขันความเร็ว
พ.ร.บ.รถยนต์ขาดต่อได้หรือไม่
พ.ร.บ.รถยนต์ไม่สามารถขาดต่อได้ หากไม่ทำการต่ออายุพ.ร.บ.ถือว่ามีโทษ และถือว่าผิดกฎหมาย และยังมีโทษอื่นๆ ดังนี้
- ผิดกฎหมาย ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- ไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ ทำให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุ ซึ่งถ้าเกิน 30 วันจะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท และถ้าขาดต่อนานเกิน 3 ปีจะถูกระงับป้ายทะเบียน
- ต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ ซึ่งถ้าถูกจับจะต้องเสียค่าปรับ 400-1,000 บาท
- ถ้าคนขับไม่ใช่เจ้าของรถ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
พ.ร.บ.รถยนต์ขาดต่อได้ไม่เกินกี่วัน
พ.ร.บ.สามารถต่อล่วงหน้าได้สูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วัน ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์ภาคบังคับนี้ไม่ควรปล่อยให้ขาดต่ออายุแม้แต่ 1 วัน
ขาดต่อไม่เกิน 1 ปี
- สามารถทำเรื่องต่อได้ทันที
- ไม่ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม
- โดนปรับเรื่องภาษีรถยนต์
ขาดต่อเกิน 2 ปีขึ้นไป
- ต้องนำรถเข้ารถสภาพ จึงจะสามารถดำเนินการต่อพ.ร.บ.ได้
- ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม
- จำเป็นต้องใช้เอกสารสำคัญหลายอย่างเพิ่มเติม ได้แก่ สมุดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน
ขาดต่อเกิน 3 ปีขึ้น
- มีโอกาสโดนระงับป้ายทะเบียน ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนรถใหม่
- ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม
- อาจมีการเก็บภาษีย้อนหลัง
- จำเป็นต้องใช้เอกสารสำคัญหลายอย่างเพิ่มเติม ได้แก่ สมุดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียน
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนรถ หรือตัวทะเบียนเล่มจริง
- ใบตรวจสภาพรถจากตรอ. (ต้องเข้ารับการตรวจในกรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
- ใบตรวจเช็กสภาพถังแก๊ส (ต้องเข้ารับการตรวจในกรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)
พ.ร.บ.รถยนต์ราคาเท่าไหร่
ยกตัวอย่างราคาพ.ร.บ.
- รถยนต์โดยสาร(รถน้ำมัน) ที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พ.ร.บ.รถเก๋ง) ราคา 600 บาท
- รถยนต์โดยสาร(รถยนต์ไฟฟ้า) มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พ.ร.บ.รถเก๋งไฟฟ้า) ราคา 600 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน (พ.ร.บ.รถตู้) ราคา 1,100 บาท
และสามารถดูราคาพ.ร.บ.รถยนต์ประเภทอื่นๆ ได้ที่นี่
มีพ.ร.บ.แล้วยังต่อทำประกันรถยนต์หรือไม่
พ.ร.บ.รถยนต์ คือประกันภัยภาคบังคับ และประกันภัยที่ทุกคนคุ้นเคยจะเรียกว่าประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์เป็นการคุ้มครองเฉพาะตัวผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งานรถยนต์เท่านั้น แต่วงเงินที่คุ้มครองอาจไม่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น รวมไปถึงไม่ได้ให้ความคุ้มครองในตัวรถยนต์ที่เกิดความเสียหายเอง เช่น ถ้าหากทำแค่พ.ร.บ.รถยนต์แล้วรถยนต์เกิดความเสียหาย พ.ร.บ.จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองรถยนต์ และเจ้าของรถยนต์จำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมด้วยตนเอง และพ.ร.บ.รถยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครองในบางกรณีแก่รถยนต์เหมือนประกันภัยภาคสมัครใจ เช่น กรณีถูกชนแล้วหนี กรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วไม่มีคู่กรณี กรณีรถยนต์ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติเช่น น้ำท่วม น้ำหลาก ดินถล่ม กรณีรถยนต์โดนไฟไหม้ หรือสูญหาย พ.ร.บ.รถยนต์ก็ไม่ได้ความคุ้มครองในกรณีดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้นถ้าหากคุณต้องการให้รถยนต์ได้รับความคุ้มครองในทุกกรณีการทำประกันภัยภาคสมัครใจก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ความคุ้มครองเพิ่มเติม และช่วยลดค่าใช้จ่ายในยามที่เกิดอุบัติเหตุลงได้อีกด้วย
สรุป
พ.ร.บ.รถยนต์เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องมี และไม่สามารถขาดต่อพ.ร.บ.ได้ ถ้าขาดต่อพ.ร.บ.จะมีโทษปรับ และโทษอื่นๆ อีกมากมาย พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ประสบภัยที่ได้รับอุบัติเหตุจากการใช้งานรถยนต์ ซึ่งอาจมีวงเงินในการคุ้มครองไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ และไม่ได้ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีอื่นๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ รถสูญหายด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทำประกันภัยภาคสมัครใจก็ยังสามารถช่วยประหยัด และลดค่าใช้จ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน และถ้าหากคุณกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ดีๆ ให้ความคุ้มครองดีที่สุดในราคาสุดพิเศษ ผ่อนได้นานสูงสุดถึง 10 เดือน เลือกผ่อนผ่านบัตรเครดิต หรือไม่ใช่บัตรเครดิตก็ได้ ก็สามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ได้ฟรี ที่นี่