ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 750 บาท/เดือน ที่ SILKSPAN

ต่อภาษีรถยนต์ 2567 ใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมวิธีต่อภาษีพรบรถยนต์ออนไลน์อย่างง่าย


ต่อภาษีพรบรถยนต์ออนไลน์ 2567

        การเดินทางไปทำเรื่องสำคัญอย่างการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อด้วยตัวเองนั้นอาจเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก และเสียเวลาสำหรับใครหลายคน แต่รู้ไหมว่า ตอนนี้เราสามารถทำการต่อภาษีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงกรมการขนส่งทางบกแล้ว แถมยังใช้เวลาไม่นาน แค่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ก็สามารถต่อได้ทันใจ วันนี้ SILKSPAN ผู้ให้บริการเช็คเบี้ยประกันรถยนต์และต่ออายุประกันรถยนต์ ได้ทำการรวบรวมข้อมูล พร้อมขั้นตอนการต่อประกันออนไลน์ง่าย ๆ มาฝากกัน

 

ภาษีรถยนต์คืออะไร

        ภาษีรถยนต์ คือการจ่ายภาษีในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานรถยนต์จะต้องทำการจ่ายเป็นประจำทุกปี การจ่ายภาษีรถยนต์ เพื่อเป็นการต่อภาษีรถยนต์ทุกปีนั้น เงินภาษีที่รัฐได้รับก็จะนำเป็นไปเป็นงบประมาณในการใช้เพื่อปรับปรุง หรือพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมบนท้องถนนนั่นเอง การต่อภาษีต้องต่อเป็นประจำทุกปี และขอยื่นต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน

        สำหรับการต่อภาษีรถยนต์นั้น มักจะเป็นคนเข้าใจสลับกับการต่อพรบรถยนต์ ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์นั้นเมื่อทำการต่อเสร็จสิ้น ผู้ต่อจะได้รับป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่จะระบุวันที่หมดอายุในครั้งถัดไป แต่สำหรับการต่อพรบรถยนต์นั้น จะเป็นการต่อประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำไว้ โดยจะออกเป็นลักษณะของเอกสารในกระดาษ A4 เพราะถ้าหากตรวจสอบแล้วว่ารถคันไหนไม่มี จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ : พรบรถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

 

ควรต่อภาษีรถยนต์ตอนไหน?

      สำหรับภาษีรถยนต์และการต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่คนมีรถจำเป็นต้องรู้ เพราะการต่อภาษีรถยนต์จะต้องทำกันเป็นประจำทุกปี เพื่อให้รถยนต์ของเราสามารถขับใช้งานบนท้องถนนได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่จะต่อภาษีรถยนต์ได้ เจ้าของรถจะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีก่อน โดยที่เจ้าของรถสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้า 90 วัน ก่อนที่จะถึงกำหนด และถ้าหากผู้ใดขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไป ป้ายทะเบียนรถจะต้องถูกสั่งยกเลิกในทันที

 

ประเภทรถที่ต้องมีการต่อภาษีรถยนต์

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุไม่เกิน 5 ปี
  • เป็นรถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

 

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

เอกสารต่อภาษีรถยนต์

      หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าภาษีรถยนต์คืออะไร และการต่อภาษีรถยนต์ควรทำตอนไหน ต่อมาเป็นเรื่องของเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ที่จะต้องมีการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้องเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ให้เสร็จได้ในทันที โดยเอกสารที่จำเป็นในการต่อภาษีรถยนต์ ได้แก่

  • สมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ คันที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ สามารถใช้ได้ทั้งตัวจริง และแบบสำเนา
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ ที่ตรอ. สำหรับรถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) หรือ 5 ปี (รถมอเตอร์ไซค์)
  • ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ที่มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน

 

ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

      หลายคนอาจทราบกันดีอยู่แล้วว่าการต่อภาษีรถยนต์สามารถดำเนินการและชำระเงินได้ที่กรมการขนส่งทางบก แต่ในปัจจุบันได้มีช่องทางในการดำเนินการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อมอบความสะดวกสบายและช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับผู้ใช้งาน โดยสามารถเลือกดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ตามช่องทาง ดังนี้

1.กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่

2.ห้างสรรพสินค้าที่มีป้าย “Shop Thru for Tax”

3.ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

4.ไดรฟ์ทรู “เลื่อนล้อต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) 

5.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

6.เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

7.เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th

8.แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

 

ประกันรถยนต์ชัั้น 1 ราคาสบายกระเป๋า ผ่อนนาน 0%

 

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทางเลือกใหม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม

      ในยุคปัจจุบันนี้ที่เทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด โลกออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการเดินทางไปกรมการขนส่งทางบกอีกต่อไป เพราะการต่อภาษีสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ใครที่ไม่ค่อยมีเวลาและกำลังรู้ตัวแล้วว่าภาษีรถยนต์ใกล้จะหมด การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่รวดเร็ว ปลอดภัย และใครก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

1. เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf แล้วเลือกบริการ “เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่”

ลงทะเบียนสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

2. กรอกข้อมูลที่ระบุให้ครบถ้วน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นกดปุ่ม “บันทึก”

บันทึกข้อมูลสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

3. เมื่อลงทะเบียนสมาชิกแล้ว ให้ Login เพื่อเข้าใช้บริการ
จากนั้นเลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” ในเมนูย่อยเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

“ชำระภาษีรถประจำปี” ต่อภาษีรถยนต์

 

4. กดปุ่ม “ลงทะเบียนรถ”

ลงทะเบียนรถยนต์สำหรับการต่อภาษีรถยนต์

 

5. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกดปุ่ม “บันทึก”

บันทึกข้อมูลสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

6. ข้อมูลรถจะขึ้นที่ตางรางด้านล่าง จากนั้นกดปุ่มที่อยู่ให้ช่องยื่นชำระภาษี

กดปุ่มที่อยู่ให้ช่องยื่นชำระภาษีสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

7. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกดปุ่ม “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”

กรอกสถานที่จัดส่งเอกสารสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

8. ระบุที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ถูกต้อง จากนั้นกดปุ่ม “เลือกวิธีการชำระเงิน”

เลือกวิธีการชำระเงินสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

9. เลือกวิธีการชำระเงิน โดยสามารถทำได้ 3 วิธี

  • หักจากบัญชีเงินฝาก สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคาร 20 บาทต่อรายการ ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ยูโอบี
  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต โดยคิดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต 2% รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
  • เคาน์เตอร์บริการ ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ แล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์, ตู้ ATM มีที่ร่วมโครงการ ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงเทพ, ธ.ธนชาต, ธ.ก.ส, ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย, ธ.กรุงศรีอยุธย, ธ.ทหารไทย, ธ.ยูโอบี, ธ.ไทยพาณิชย์, บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และเทสโก้ โลตัส

เลือกวิธีการชำระเงินสำหรับต่อภาษีรถยนต์

10. ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”

กดปุ่ม “ยืนยัน” สำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax

1.1 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เพื่อทำการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทั้ง Android (Google Play Store) และ IOS (App Store)

โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax สำหรับต่อภาษีรถยนต์

ช่องทางในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

  1. Android (Google Play Store) 
  2. IOS (App Store)

 

1.2 ลงทะเบียนทำการกรอกข้อมูลของผู้ที่จะชำระภาษีรถ

ลงทะเบียน สำหรับต่อภาษีรถยนต์

  1. กรอกชื่อ – นามสกุล
  2. อีเมล (สำหรับการรับรหัส OTP ยืนยันตนเอง)
  3. เลขประจำตัวประชาชน
  4. เบอร์โทรศัพท์
  5. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP”

 

1.3 กรอกรหัส OTP

กรอกรหัส OTP สำหรับต่อภาษีรถยนต์

    หมายเลข OTP จะทำการส่งผ่านอีเมลที่ระบุเอาไว้ ให้ทำการตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ระบุ และทำการกรอกรหัส OTP ที่ได้รับเพื่อยืนยันตัวตน

        หากไม่ได้รับรหัส OTP สามารถกดปุ่ม “ขอรหัส OTP ใหม่” เพื่อให้ระบบทำการส่งรหัสมาให้ใหม่อีกครั้ง

 

1.4 กรอก PIN CODE 6 หลัก

กรอก PIN CODE 6 หลักสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    ตั้งรหัสผ่าน และกรอกรหัส PIN CODE 6 หลัก แล้วทำการกรอกรหัสยืนยันอีกครั้ง สำหรับเป็นรหัสผ่านในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ในครั้งถัดไป

 

1.5 เลือกรูปแบบการชำระ

เลือกรูปแบบการชำระสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    ทำการเลือกรูปแบบในการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งแบบการ “ชำระภาษีรถตนเอง” และ “ชำระภาษีแทนเจ้าของรถ”

 

1.6 กรอกเลขประจำตัวประชาชน

กรอกเลขประจำตัวประชาชนสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    กรอกของตนเอง หรือเจ้าของรถ คันที่จะทำการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์แทน

 

2. เลือกประเภทของรถ

เลือกประเภทของรถสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    เลือกประเภทของรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่ต้องการจะชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

 

3.กรอกเลขทะเบียนรถ

กรอกเลขทะเบียนรถสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    เมื่อเลือกประเภทเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการกรอกเลขทะเบียนรถ และจังหวัดตามป้ายทะเบียนของรถยนต์คันที่ต้องการจะชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

 

4. บันทึกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)

บันทึกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.) สำหรับต่อภาษีรถยนต์

    กรอก และบันทึกข้อมูลสำหรับต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

1.ชื่อบริษัทประกันภัย

2.เลขที่กรมธรรม์

3.วันสิ้นสุดความคุ้มครอง

 

5.1 เลือกช่องทางการรับเอกสาร

เลือกช่องทางการรับเอกสารสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    สามารถเลือกรับเอกสารได้ทั้งทางการ “พิมพ์เครื่องหมายฯ ที่ตู้ KIOSK” หรือเลือกเป็นการ “ส่งผ่านไปรษณีย์”

 

5.2 บันทึกข้อมูลสำหรับจัดส่ง

บันทึกข้อมูลสำหรับจัดส่ง สำหรับต่อภาษีรถยนต์

สำหรับผู้ที่เลือกการรับเอกสารทางไปรษณีย์

  •     กรอกข้อมูลที่อยู่สำหรับการจัดส่ง หากกดบันทึกแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้

สำหรับผู้ที่เลือกพิมพ์เครื่องหมายที่ตู้ KIOSK

  •     สามารถนำ QR CODE ไปพิมพ์ได้ที่ตู้ KIOSK

 

6.รายละเอียดการชำระเงิน

รายละเอียดการชำระเงินสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    ตรวจสอบข้อมูลของการชำระภาษีรถยนต์ให้ถูกต้องก่อนทำการชำระ

 

7.1 เลือกช่องทางการชำระเงิน

เลือกช่องทางการชำระเงินสำหรับต่อภาษีรถยนต์

หากเลือกชำระผ่าน “QR CODE”

    สามารถ Save รูปเพื่อนำไปชำระผ่านทาง Mobile Banking ของธนาคารที่มี

หากเลือกชำระผ่าน “App SCB”

    จะเป็นการกดเพื่อไปทำการจ่ายบิลอัตโนมัติผ่านทาง App SCB Easy

 

7.2 ชำระภาษีรถ

ชำระภาษีรถสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    ชำระภาษีรถยนต์ ตามช่องทางการชำระที่ได้ทำการเลือก

 

8. รายละเอียดชำระภาษีของคุณ

รายละเอียดชำระภาษีของคุณสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    เมื่อทำการชำระเสร็จสิ้น จะแสดงหน้าต่าง “สิ้นสุดการทำรายการ” และ “สามารถตรวจสอบประวัติการทำรายการ” ได้

 

9. ตรวจสอบประวัติการชำระ

ตรวจสอบประวัติการชำระสำหรับต่อภาษีรถยนต์

    เมื่อได้ทำการชำระเสร็จสิ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการชำระเสร็จสิ้นแล้ว สามารถตรวจสอบวัน และเวลาที่ทำการต่อภาษีได้

 

10.รอรับเอกสาร

รอรับเอกสารสำหรับต่อภาษีรถยนต์

 

การคิดอัตราภาษีรถยนต์

      หลายคนในที่นี้อาจจะรู้ถึงความสำคัญของการต่อภาษีรถยนต์กันไปแล้ว ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด เพราะในขั้นตอนการเตรียมเอกสารก็มีไม่มาก รวมถึงการชำระภาษีรถยนต์ก็สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไร มีการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง โดยการคิดอัตราภาษีรถยนต์ มีดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือ กระบะ 4 ประตู

รถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง มีการคำนวณภาษีรถขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ โดยมีอัตราภาษีรถยนต์ต่อ cc ดังนี้

เครื่องยนต์ขนาด  อัตราภาษีต่อ cc
1-600 c.c. 50 สตางค์
601-1800 c.c. 1.50 บาท
1801 c.c. ขึ้นไป 4 บาท

 

2.ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถเก่าจะมีค่าลดหย่อนภาษีรถยนต์

ปีที่ใช้งานรถยนต์ ลดหย่อนภาษีได้กี่ %
ปีที่ 6  10%
ปีที่ 7 20%
ปีที่ 8 30%
ปีที่ 9 40%
ปีที่ 10 และปีต่อๆ ไป 50%

 

3.ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ระบบออนไลน์

  • ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม

AUTO ALERT - SILKSPAN

ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์จะเป็นอย่างไร

      เชื่อว่าหลายคนคงได้เห็นถึงความสำคัญของการต่อภาษีรถยนต์แล้ว หากใครที่ละเลยหรือว่าไม่ไปดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะการต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ แต่สำหรับใครที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์จะส่งผลกระทบต่อเจ้าของรถ ดังนี้

เสียค่าปรับ

      หากผู้ขับขี่ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้าจะต้องเสียค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน ยิ่งปล่อยเอาไว้นานก็จะยิ่งทำให้มีอัตราค่าปรับที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ควรหมั่นตรวจเช็กวันหมดอายุของภาษีรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ หรือเป็นการป้องกันการหลงลืมก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าก่อนทะเบียนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน

ถูกระงับทะเบียนรถยนต์

      หากผู้ขับขี่ไม่ได้ทำการต่อทะเบียนนานเกิน 3 ปี ทางกรมการขนส่งทางบกจะระงับทะเบียนรถยนต์ของคุณในทันที และถ้าฝืนขับรถยนต์คันดังกล่าวต่อไปจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย หากต้องการใช้งานรถยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่พร้อมกับคืนป้ายทะเบียน รวมทั้งยังต้องทำการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย ส่วนใครที่มีรถจอดไว้ไม่ได้ใช้งานหรือซ่อมรถเป็นเวลานานก็สามารถยื่นแสดงการระงับใช้รถชั่วคราวล่วงหน้าที่กรมการขนส่งทางบกได้ เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานและไม่ต้องเสียภาษีในช่วงเวลานั้น

เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย

      การที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์ที่นอกจากจะต้องเสียค่าปรับแล้วยังมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาด้วย เช่น ค่าตรวจสภาพ ค่าป้ายทะเบียนใหม่ รวมถึงค่าเดินทางในกรณีที่ต้องมีการเตรียมเอกสารเพิ่มเติม และต้องเสียเวลาในการเดินทาง ดังนั้น การต่อภาษีรถยนต์ตามปกติจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำในระยะเวลาที่กำหนด

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์

      อย่างที่ทราบกันดีว่าการต่อภาษีรถยนต์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการต่อภาษีรถยนต์ เจ้าของรถทุกคนควรศึกษาถึงเงื่อนไขและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ โดยข้อสำคัญที่ควรรู้ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ ได้แก่

  • การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ก่อนที่ภาษีรถยนต์จะหมดอายุล่วงหน้า 90 วัน หรือ 3 เดือน เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถวางแผนและจัดสรรค่าใช้จ่ายสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ได้คล่องตัว
  • หากต่อภาษีรถยนต์ช้ากว่าที่กำหนด หลังจาก 1 วันขึ้นไป ทางกฎหมายระบุว่าเป็นการขาดการต่อภาษีรถยนต์ โดยนับตั้งแต่ 1 – 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1% ต่อเดือน หากปล่อยเอาไว้นานก็จะมีค่าปรับที่เพิ่มมากขึ้น
  • หากขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไป กรมการขนส่งทางบกจะระงับทะเบียนรถยนต์ในทันที
  • ในกรณีที่ถูกระงับทะเบียนรถยนต์ หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนให้กับกรมการขนส่งทางบก พร้อมชำระค่าปรับถึงจะได้ป้ายทะเบียนใหม่
  • รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์ หากรถมีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี จะต้องนำรถเข้าตรวจสภาพก่อนถึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ตามปกติ
  • ก่อนต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้งจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก่อนเสมอ หากทำเรียบร้อยแล้วถึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้

 

สรุปการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์และการต่อ พ.ร.บ รถยนต์

        บริการออนไลน์ดี ๆ ที่ทำให้การต่อภาษีรถยนต์สะดวกและรวดเร็ว สามารถทำได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงในช่วงการระบาดของโรคโควิด และสำหรับใครที่ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์เสร็จเรียบร้อย แล้วต้องการทำเรื่องต่ออายุประกันรถยนต์ ก็สามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ประกันรถยนต์ออนไลน์ พร้อมดำเนินเรื่องต่อพรบรถยนต์ง่าย ๆ แถมสะดวกกับ SILKSPAN ทันทีได้เช่นกัน

 


เขียนโดย : SILKSPAN SPECIALIST
เผยแพร่วันที่ : 01/01/2024
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์! ซื้อประกันรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN รับสิทธิ์ประโยชน์

  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด