ภาษีขาด แต่ พรบ. ยังไม่ขาด จะมีโทษปรับหรือไม่ มีผลเสียอย่างไร ?
เรื่องราวของการขับขี่รถยนต์ ยังมีข้อสงสัยที่หลายคนเข้าใจผิดอยู่อีกมาก ซึ่งบทความนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องของ พรบ. และ ภาษีรถยนต์ เพราะนี่คือสองสิ่งที่ควรอยู่คู่กัน ไม่ควรขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแม้แต่อย่างเดียว เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกันเช่นนี้ เลยทำให้หลาย ๆ คนมีความสงสัยเกิดขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าภาษีขาด แต่ พรบ. ยังไม่ขาด ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ จะมีความผิดหรือไม่ ? โดนปรับเท่าไหร่ ? มีผลเสียต่อการใช้รถใช้ถนนอย่างไรบ้าง ? ทุก ๆ ข้อสงสัย บทความนี้ SILKSPAN ได้เตรียมคำตอบเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
พรบ. รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?
พรบ. และ ภาษีรถยนต์ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนเข้าใจผิด ป้ายที่ต้องนำมาแสดงบนรถยนต์ ที่จริงแล้วควรต้องเรียกมันว่า “ป้ายกลม” หรือ “ป้ายภาษี” เป็นการยืนยันว่าได้ชำระภาษีรถยนต์ของปีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ทว่าหลายต่อหลายคนกลับเข้าใจว่ามันคือ “ป้าย พรบ.” ถ้าใครยังแยกไม่ออกว่า พรบ. กับ ภาษี ต่างกันอย่างไร เราขออธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้
- ภาษีรถยนต์ : คือภาษีของรถยนต์ ซึ่งรถยนต์ทุกคันจะต้องชำระในทุก ๆ ปี คล้าย ๆ กับภาษีบุคคลที่เราต้องจ่าย เมื่อจ่ายแล้วจะได้ป้ายกลมมา เพื่อยืนยันว่ารถยนต์คันนี้ ได้ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว
- พรบ. รถยนต์ : ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ต้องต่อในทุก ๆ ปีเหมือนกับภาษีรถยนต์ ทำหน้าที่เยียวยาเวลาผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ถ้าปล่อยให้ภาษีขาด แต่ พรบ. ยังไม่ขาด กรณีนี้มีความผิดตามกฎหมายไหม ?
เมื่อได้เข้าใจถึงความเกี่ยวข้องของ พรบ. และ ภาษี รถยนต์กันไปแล้ว ก็เข้าสู่ข้อสงสัยหลักในบทความนี้ ในกรณีที่ ภาษีขาด แต่ พรบ. ไม่ขาด เคสนี้จะมีความผิดอะไรหรือไม่ ? คำตอบคือ มีโทษปรับอย่างแน่นอน จากการปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาด ค่าปรับจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน ส่วนแรกจะถูกปรับเมื่อ โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจพบ ว่าขับรถโดยที่ปล่อยให้ภาษีขาด เบี้ยปรับสูงสุดจะอยู่ที่ 2,000 บาท ซึ่งเป็นการปรับต่างกรรมต่างวาระ และค่าปรับอีกส่วนจะเกิดขึ้น จะเกิดเป็นเบี้ยปรับจากกรณีจ่ายภาษีล่าช้า เริ่มต้นที่ 1% ต่อเดือนตั้งแต่วันขาดถึงวันจ่าย
3 ผลเสียของการปล่อยให้ ภาษี และ พรบ. ขาด
ไม่ว่าจะเป็น พรบ. หรือ ภาษีรถยนต์ ต่างก็มีความสำคัญของตัวมันเอง และมีกฎหมายบังคับให้เราต้องจัดการให้เรียบร้อยในทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยให้อย่างใดอย่างหนึ่งขาดไป ก็ล้วนส่งผลเสียในด้านของการถูกปรับจากกฎหมายจราจรทั้งสิ้น นอกเหนือไปจากนั้น การปล่อยปละละเลยให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งขาด หรือ ปล่อยให้ขาดไปทั้งคู่ มีผลเสียที่จะตามมามากมาย ยกตัวอย่าง 3 กรณีหลักที่พบบ่อยได้ดังนี้
1. ถ้า พรบ. รถยนต์ขาด จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
เป็นความเกี่ยวข้องกันของ พรบ. และ ภาษีรถยนต์ การที่จะต้องภาษีรถยนต์ได้ คุณจะต้องต่อ พรบ. ของรถยนต์คันนั้น ๆ เสียก่อน เพราะในขั้นตอนของการต่อภาษีประจำปีรถยนต์ จำเป็นจะต้องใช้ พรบ. ที่ยังไม่หมดอายุ เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการร่วมด้วยนั่นเอง
2. ปล่อยภาษีรถยนต์ขาดนาน ๆ อาจถูกระงับทะเบียนได้
ภาษีรถยนต์ถ้าละเลยปล่อยให้ขาด จะมีเบี้ยปรับทันที 1% ในทุก ๆ เดือนที่ล่วงเลยไป และในกรณีที่ปล่อยจนล่วงเลยเวลาไปกว่า 3 ปี รถยนต์ของคุณจะถูก “ระงับทะเบียน” ในทันที ซึ่งนั่นหมายความว่า ตามกฎหมายแล้วรถยนต์ของคุณไม่สามารถนำมาขับขี่บนท้องถนนได้อีกต่อไป จะต้องเดินเรื่องเพื่อขอป้ายทะเบียนใหม่เสียก่อน พร้อมกับจ่ายภาษีย้อนหลัง ค่าเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ไม่คุ้มค่าเลยสักนิด
3. อดได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
อย่างที่รู้ ๆ กันดี ว่า พรบ. เป็นประกันภัยรถยนต์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งถูกบังคับว่าให้ต่ออายุในทุก ๆ ปี ถึงในด้านของวงเงินคุ้มครอง จะไม่สูงเทียบเท่ากับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่ในด้านของความคุ้มครองก็ถือว่าช่วยเยียวยาได้พอสมควรเลยทีเดียว เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด แม้กระทั่งกรณีที่เมาแล้วขับ ก็ยังได้รับความคุ้มครอง โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น
หากปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาด ประกันภัยรถยนต์จะยังให้ความคุ้มครองหรือไม่ ?
ในที่นี้เรากำลังกล่าวถึง “ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ” ซึ่งในเคสภาษีรถยนต์ขาดไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก็ตาม หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็ยังจะได้รับความคุ้มครองเช่นเดิมจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ 100% โดยบริษัทประกันภัยรถยนต์ จะมองในมุมของบริบทของอุบัติเหตุเท่านั้น เพื่อตัดสินฝ่ายถูกผิดในเคสนั้น ๆ ภาษีจะขาด หรือ พรบ. จะขาด ก็ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาร่วมด้วย แต่ถึงอย่างไรการต่อภาษี ก็เป็นหน้าที่ของพลเมืองไทย ควรจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย แบบนั้นจะดีที่สุดในทุก ๆ แง่มุม
บทส่งท้าย
เป็นอย่างไรกันบ้าง ได้รับคำตอบที่ต้องการแล้วหรือยัง ? ในเคสที่ ภาษีขาด แต่ พรบ. ยังไม่ขาด ก็ยังมีโทษปรับ และ ยังมีข้อเสียต่าง ๆ อีกมากมายที่จะตาม สรุปง่าย ๆ เลยว่า การปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดนั้น “ได้ไม่คุ้มเสีย” เนื่องจากเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่า การจ่ายภาษีรถยนต์รายปีหลายต่อหลายเท่า เพื่อป้องกันการหลงลืม สามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า ก่อนวันหมดอายุ ได้สูงสุดถึง 90 วัน
นอกจากภาษีรถยนต์ที่สามารถจ่ายล่วงหน้าได้แล้ว ด้านของ “ประกันภัยรถยนต์” ก็สามารถซื้อล่วงหน้าได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้ได้มีช่วงเวลาตัดสินใจที่เพิ่มมากขึ้น ได้เลือกความคุ้มครองที่ดีที่สุด เบี้ยประกันที่คุ้มค่า และ ยังสามารถมองหาสิทธิพิเศษอื่น ๆ ที่จะได้รับจากการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้อีกด้วย ถ้าคุณกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ SILKSPAN พร้อมให้บริการกับคุณตลอด 24 ชั่วโมง ขั้นตอนง่าย ๆ เพียงกรอกข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านล่างบทความนี้เท่านั้น แล้วทีมงานของเราจะติดต่อกลับไป พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับคุณ