เที่ยวปีใหม่ปลอดภัย ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

ป้ายห้ามจอดมีกี่แบบ ? แต่ละแบบมีความหมายอย่างไร


ป้ายห้ามจอดมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีความหมายอย่างไร

หากใครที่ผ่านการทดสอบทำใบขับขี่มาแล้ว ในขั้นตอนการอบรม จะมีการแนะนำป้ายจราจรต่าง ๆ พร้อมอธิบายถึงความหมายของแต่ละป้าย ซึ่งป้ายห้ามจอดก็นับว่าเป็นหนึ่งในป้ายจราจรที่พบบ่อยมาก ๆ ตามสองข้างทาง โดยตัวป้ายจะถูกแบ่งออกได้หลายประเภท และค่อนข้างมีการใช้งานที่ยืดหยุ่นตามแต่ละพื้นที่ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าพร้อมแล้วเชิญรับชมเนื้อหาดี ๆ ที่ SILKSPAN นำมาฝากได้เลย !!

 

กฎจราจรที่แสนสำคัญ ทำความเข้าใจ ป้ายห้ามจอด” ให้มั่นใจในทุก ๆ รูปแบบ

ป้ายห้ามจอด เป็นหนึ่งในชนิดของ “ป้ายจราจร” ในประเภทป้ายบังคับ มีเอาไว้เพื่อแสดงสิ่งที่ต้องห้ามกระทำในบริเวณที่มีป้าย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ถ้าฝ่าฝืนกระทำการตามที่ป้ายได้กำหนดเอาไว้ แน่นอนว่าเมื่อมีป้ายห้ามจอดติดอยู่ในบริเวณเหล่านั้น ส่วนนั้น ๆ ก็จะกลายเป็นพื้นที่ห้ามจอดรถไปโดยปริยาย แต่เนื่องด้วยป้ายห้ามจอดเองก็มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะห้ามแตกต่างกันออกไป นั่นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ ที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ ว่าป้ายแต่ละชนิดมีความหมายอย่างไร ควรปฏิบัติตามอย่างไรให้ถูกต้อง

ป้ายห้ามจอดมีกี่แบบ ? แต่ละแบบมีความหมายอย่างไร

อธิบาย 3 ประเภทของป้ายห้ามจอด พร้อมความหมายโดยละเอียด

โดยป้ายห้ามจอดทุกประเภท จะมีสัญลักษณ์ห้ามจอด เป็นวงกลมสีแดงสด พร้อมเส้นขีดเฉียง 45 องศาลงมา พื้นหลังของวงกลมจะเป็นสีน้ำเงิน ส่วนสีพื้นหลังของป้ายจะมีสีขาว ถ้าเห็นป้ายในลักษณะเช่นนี้ ให้ชั่งใจเอาไว้ก่อนเลยว่า เป็นป้ายที่เตือนไม่ให้เราจอดรถในบริเวณนั้น ๆ แต่ป้ายห้ามจอดเองก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะมีจุดเด่นเหมือน ๆ กัน เพียงแค่จะมีตัวอักษรที่แสดงเงื่อนไขของการห้ามจอดในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่าง 3 ชนิดของป้ายห้ามจอดที่พบเจอได้บ่อย ๆ พร้อมความหมายของแต่ละป้าย

1. ป้ายห้ามจอดตลอดเวลา

ค่อนข้างจะเป็นป้ายที่เด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ห้ามจอดโดยเด็ดขาด ให้สังเกตในส่วนของลูกศรที่จะชี้แนวรถที่ห้ามจอด ซึ่งป้ายมักจะมีคำว่า “ตลอดเวลา” หมายถึงการห้ามไม่ให้จอดรถในแนวที่กำหนดเอาไว้ตลอดเวลา และบางป้ายอาจมีข้อยกเว้นเช่น “ยกเว้นวันอาทิตย์” ถ้าในช่วงเวลานั้นอยู่ในวันอาทิตย์ ก็สามารถจอดได้ นอกจากนั้นห้ามจอดทุกกรณี

2. ป้ายห้ามจอดแบบระบุวันเวลา

ป้ายห้ามจอดประเภทนี้ จะมีการระบุเงื่อนไขค่อนข้างละเอียด โดยจะมีแนวลูกศรที่ระบุแนวการจอดอย่างชัดเจน พร้อมด้วยตัวอักษรที่จะบอกว่า ช่วงเวลาไหนจอดได้ ช่วงเวลาไหนจอดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ห้ามจอดวันคู่ หรือ วันคี่ ก็จะเป็นการห้ามไม่ให้จอดรถตลอดแนว อ้างอิงจากวันที่ของช่วงเวลานั้น ๆ หรือ จะใช้การระบุวันอย่างชัดเจน เช่น ห้ามจอดวันอังคาร ห้ามจอดวันพุธ เป็นต้น และอาจละเอียดขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการระบุช่วงเวลาห้ามจอด เช่น ห้ามจอด 05:00 ถึง 20:00 หมายความว่า นอกเหนือเวลานี้ สามารถจอดได้

3. ป้ายห้ามจอดระบุประเภทรถ

จะเป็นป้ายที่มีการระบุประเภทของรถที่ห้ามจอดเอาไว้ พร้อมด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ เกี่ยวกับการห้ามจอด เช่น ห้ามจอดรถยนต์ที่มีขนาด 6 ล้อขึ้นไป แต่ในส่วนนี้หลายคนมักจะเข้าใจผิด เพราะอาจคิดว่าถ้าไม่ได้เป็นรถที่ระบุในเงื่อนไข ก็สามารถจอดได้ ซึ่งที่จริงแล้วอาจไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากอาจมาในรูปแบบ “ห้ามจอดวันคี่ 05:00 ถึง 20:00 รถ 6 ล้อขึ้นไปตลอดเวลา” กรณีนี้หมายความว่า ถ้าเป็นรถ 6 ล้อขึ้นไป ห้ามจอดตลอดเวลา แต่รถอื่น ๆ ก็ห้ามจอดตามเงื่อนไขบนป้าย ตามระยะเวลาที่กำหนด

เที่ยวปีใหม่ปลอดภัย ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

ฝ่าฝืนข้อห้ามของป้ายห้ามจอดมีโทษหรือไม่ ?

แม้จะถูกเรียกว่า ป้ายห้ามจอด แต่ที่จริงแล้วก็สามารถจอดได้นิดหน่อย แต่จะต้องเป็นการจอดเพียงชั่วคราวเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การจอดเพื่อส่งผู้โดยสารลงจากรถ ใช้เวลาแค่ประมาณ 1 ถึง 3 นาที โดยที่จะต้องมีผู้ขับขี่ประจำที่อยู่บนรถตลอดเวลา ในกรณีนี้อาจได้รับเพียงการตักเตือนเพียงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการจอดรถทิ้งเอาไว้เลย คุณก็มีสิทธิ์จะถูกล็อกล้อ พร้อมแนบใบสั่งเอาไว้ อัตราโทษอัปเดตล่าสุดในปี 2567 ปรับสูงสุดถึง 2,000 บาท

 

รู้หรือไม่ ? ใช้ป้ายห้ามจอดเพื่อกั๊กที่จอดรถในพื้นที่สาธารณะมีความผิด !

ปัญหาเรื่องที่จอดรถ เป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังของประเทศไทย จนทำให้หลาย ๆ คนมีแนวคิดที่ไปในเชิงหัวหมอ ไปหาซื้อป้ายห้ามจอด มาวางในตำแหน่งที่อยากจะกั๊กเอาไว้จอดรถของตนเอง ในกรณีนี้หากเป็นพื้นที่ถนนสาธารณะที่เปิดให้จอดได้ตามปกติ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล หรือ ขวางประตูทางเข้าบ้าน และเป็นการกระทำโดยพลการ ไม่ใช่การกระทำของพนักงานที่ได้รับมอบหมาย จะถือว่าเป็นกระทำผิดกฎหมายตาม พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โทษปรับสูงถึง 10,000 บาท กันเลยทีเดียว

ป้ายห้ามจอดมีกี่แบบ ? แต่ละแบบมีความหมายอย่างไร

จอดรถในบริเวณที่มีสัญลักษณ์ห้ามจอดแล้วถูกเฉี่ยวชน เคลมประกันได้หรือไม่

การจอดรถในพื้นที่ ซึ่งมีการติดป้ายห้ามจอด มีความเสี่ยงสูงมากที่จอดแล้วอาจมีปัญหาเฉี่ยวชนได้ และการเฉี่ยวชนรถที่จอดทิ้งเอาไว้ มักจะไม่มีการแสดงความรับผิดชอบจากคู่กรณี เป็นการชนแล้วหนีเป็นส่วนใหญ่ ในมุมมองของบริษัทประกันภัยจะมองว่าเป็น “อุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี” คงเป็นเรื่องลำบากอย่างแน่นอน ถ้าคุณไม่ได้ทำประกันชั้น 1 ติดรถเอาไว้ แต่ถ้าคู่กรณีแสดงความรับผิดชอบ ก็สามารถเคลมได้ตามเงื่อนไขประกันที่มีอยู่ แต่คุณก็ยังมีความผิดในฐานะจอดรถในที่ห้ามจอด มีโอกาสที่จะถูกปรับตามความผิดอยู่ดี

 

บทส่งท้าย

การปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นหนึ่งในสิ่งที่พลเมืองไทยทุกคนควรต้องทำ เมื่อพบว่ามีป้ายห้ามจอดติดตั้งเอาไว้ ก็ควรต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการห้ามจอดที่ระบุเอาไว้บนป้าย จากที่เราได้แนะนำป้ายในแต่ละรูปแบบ ว่าป้ายประเภทไหน ห้ามอย่างไร ควรปฏิบัติอย่างไร เพียงแค่ทำตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกล็อกล้อและเสียค่าปรับอีกต่อไป

สุดท้ายนี้หากคุณอยากได้ประกันภัยรถยนต์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะซื้อที่ไหนดี SILKSPAN ขอแนะนำบริการใหม่ เพียงคุณกรอกรายละเอียดนิด ๆ หน่อย ๆ ด้านล่างบทความนี้ เราพร้อมจะเสิร์ฟข้อเสนอสุดพิเศษ เป็นประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด พร้อมสิทธิพิเศษดี ๆ อีกมากมาย โดยเรานั้นพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หากสนใจกรอกรายละเอียดได้เลยตอนนี้ !


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 25/12/2024
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด