ขาดต่อประกันอยู่หรือไม่ ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

ไฟผ่าหมาก ไฟกะพริบ ไฟหน้ารถยนต์ต้องใช้ในกรณีไหนให้ถูกต้องที่สุด ?


ไฟหน้ารถยนต์แต่ละประเภท ใช้กับสถานการณ์แบบไหนถึงจะถูกต้อง

ในการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน “ไฟหน้ารถยนต์” เปรียบเสมือนกับภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างรถยนต์แต่ละคัน โดยไม่ต้องเปิดกระจกออกมาตะโกนว่า ฉันจะเลี้ยวซ้ายนะ ! ฉันกำลังจะถอยหลัง ! หรือ ฉันกำลังเบรกนะ ! และแน่นอนว่าการสื่อสารที่ดี ย่อมทำให้การขับขี่นั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ไฟสัญญาณต่าง ๆ บนตัวรถถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ บทความนี้ SILKSPAN จะมาแนะนำการใช้งานไฟบนรถยนต์แต่ละประเภทให้ถูกวิธี จะมีอะไรบ้างนั้น ไปชมกันเลย !

 

ใช้ไฟหน้ารถยนต์ให้ถูกสถานการณ์ ปลอดภัยกับทั้งตนเองและเพื่อนร่วมทาง

นอกจากการส่องแสงสว่างขณะขับขี่ ไฟหน้ารถยนต์ยังมีอีกหน้าที่ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน คือการใช้เพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันข้างเคียง เพื่อเป็นสัญญาณเตือนไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังถือว่าเป็นหนึ่งในข้อกฎหมายจราจรอีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราควรทำความเข้าใจ ว่าไฟบนตัวรถแต่ละประเภทมีการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ใช้ในสถานการณ์ใดถึงจะถูกต้องที่สุด เพราะนอกเหนือจากความปลอดภัยระหว่างการขับขี่ ยังถือว่าเป็นมารยาทที่ดีบนท้องถนนอีกด้วย

ไฟหน้ารถยนต์แต่ละประเภท ใช้กับสถานการณ์แบบไหนถึงจะถูกต้อง ?

อธิบายวัตถุประสงค์ของไฟหน้ารถยนต์แต่ละประเภท

ประเด็นหลัก ๆ ที่เราอยากจะนำเสนอในบทความนี้ จะค่อนข้างให้น้ำหนักไปที่ “ไฟฉุกเฉิน” เป็นอันดับแรก เพราะถูกใช้งานผิด ๆ จากความเข้าใจที่บิดเบี้ยวของผู้ใช้งาน แต่เพื่อให้ผู้ที่อาจยังไม่เข้าใจ ถึงการทำงานของไฟหน้ารถยนต์อื่น ๆ ด้วยแล้ว เราจึงขอนำเสนอเรื่องของไฟที่อยู่บริเวณด้านหน้าของรถยนต์ จะมีไฟอะไรกันบ้าง ใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง เชิญรับชมได้เลย

  • ไฟหน้ารถยนต์

ไฟหน้ารถยนต์เป็นไฟหลักที่ทำหน้าที่เพื่อให้แสงสว่างระหว่างการขับขี่ ซึ่งในการขับขี่ตามปกติ ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างเพียงพอ ก็จะใช้แค่ “ไฟต่ำ” เพียงเท่านั้น เพราะการใช้ “ไฟสูง” อาจจะแยงหน้าผู้ที่ขับรถสวนมา ยกเว้นในกรณีที่เป็นเส้นทางที่มืดสนิท ที่ต้องการเพิ่มระยะการมองเห็นให้มากขึ้น ก็สามารถใช้ไฟสูงได้ แต่จะต้องระวังเมื่อมีรถสวนมาก็ควรปิดไฟสูงชั่วคราว แล้วค่อยเปิดใหม่อีกครั้ง

  • ไฟเลี้ยว

แน่นอนว่าชื่อของมันก็บอกอย่างตรงตัว ว่านี่คือไฟสัญญาณที่จะถูกเปิดใช้ เมื่อเรามีความต้องการจะต้องเลี้ยว หรือ เปลี่ยนช่องทางการเดินรถ ตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ การใช้ไฟเลี้ยวจะต้องเปิดก่อนที่จะเลี้ยว หรือ ก่อนที่จะเปลี่ยนเลนอย่างน้อย 30 เมตร ซึ่งการเลี้ยวโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือ เปิดปุ๊บ ! เลี้ยวปั๊บ ! ถ้าเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนขึ้นมา ก็สุ่มเสี่ยงที่จะถูกมองว่าเป็นฝ่ายผิดไปโดยปริยาย

  • ไฟหรี่

ไฟหรี่น่าจะเป็นไฟบริเวณหน้ารถที่ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงสักเท่าไหร่ เพราะหน้าที่หลัก ๆ ของมันก็คือการให้แสงสว่างในบริเวณที่มีแสงน้อย แต่อาจไม่ต้องการแสงสว่างที่จ้ามากนัก เช่นในกรณีที่กำลังจะจอดรถนั่นเอง และ อีกนัยหนึ่งยังสามารถใช้งานในกรณีไฟหลักขาดกะทันหัน เพื่อให้รถคันอื่น ๆ มองเห็นรถในระยะไกลได้

  • ไฟตัดหมอก

ไฟตัดหมอกจะถูกใช้ในกรณีที่อยู่ในสถานการณ์ที่ทัศนวิสัยเลวร้าย เช่น อยู่ท่ามกลางพายุฝน , มีหมอกหรือฝุ่นควันหนาแน่น หรือ บริเวณที่มืดสนิทไม่มีไฟทาง ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า “ไฟตัดหมอกไม่ใช่ไฟสูง” การเปิดใช้จะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เรากล่าวไปเท่านั้น ควรคำนึงถึงเพื่อนร่วมทางอยู่เสมอ ไม่ควรเปิดกรณีที่มีรถสวนกันเป็นอันขาด

  • ไฟฉุกเฉิน

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า ไฟผ่าหมาก ไปจนถึง ไฟกะพริบ เป็นสัญญาณเตือนเพื่อนร่วมทางว่าตอนนี้มีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น เช่น รถที่กำลังจอดเสียอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณไหล่ทาง หรือ กลางถนนเลยก็ตาม ควรเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อให้รถคันอื่น ๆ มองเห็น และ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินด้านหน้า ก็สามารถใช้ไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนรถคันหลังได้เช่นเดียวกัน

ต่อประกันภัยรถยนต์ก่อนเที่ยวปีใหม่

เผยเรื่องน่ากังวล ! คนไทยหลายคนยังใช้งานไฟฉุกเฉินรถยนต์แบบผิด ๆ อยู่เยอะมาก

นับว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก เพราะคนไทยหลายต่อหลายคน มักจะเข้าใจวัตถุประสงค์ของการใช้งานไฟฉุกเฉินรถยนต์ผิดไป ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้บ่อยมาก ๆ เพราะแต่เดิมแล้ววัตถุประสงค์ของไฟประเภทนี้ คือใช้ต่อเมื่อเกิด “เหตุฉุกเฉิน” ขึ้นเท่านั้น ไม่ควรเปิดพร่ำเพรื่อ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงบนท้องถนนได้ และต่อจากนี้จะเป็นพฤติกรรมการใช้ไฟฉุกเฉินแบบผิด ๆ ที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

  • ใช้ในทางข้ามแยก เป็นกรณีที่น่าหวาดเสียวเป็นอย่างมาก การเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อต้องข้ามแยก อาจส่งผลให้เพื่อนร่วมทางเข้าใจผิดได้ เพราะอาจนึกว่าเป็นไฟเลี้ยว ทำให้เข้าใจทิศทางของรถผิดไป
  • ใช้ระหว่างที่ฝนตกหนัก เป็นการใช้ที่ผิดวิธีจนน่าตีมือ เมื่อเปิดไฟฉุกเฉินระหว่างการขับขี่ในสภาวะฝนตกหนัก ไฟฉุกเฉินจะไปบดบังทัศนวิสัยของเพื่อนร่วมทาง จนก่อให้เกิดอันตรายได้
  • ใช้เมื่อต้องการจะเลี้ยวกะทันหัน เมื่อจะเลี้ยวก็ต้องเปิดไฟเลี้ยว การเปิดไฟฉุกเฉินเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดเป็นอย่างมาก ยกเว้นเป็นการเปิดเพื่อเตือนเพื่อนร่วมทาง ว่าข้างหน้ามีสิ่งกีดขวางบนถนน
  • ใช้ในบริเวณที่ห้ามจอด ถ้าไม่ใช่กรณีฉุกเฉินจริง ๆ ไม่ควรจอดรถในบริเวณห้ามจอดเป็นอันขาด แม้จะเปิดไฟฉุกเฉินอย่างถูกต้องก็ตาม เพราะเสี่ยงมากที่จะเกิดอุบัติเหตุ

 

บทส่งท้าย

หวังว่าบทความนี้จะแนะนำการใช้งานไฟหน้ารถยนต์ ให้ตรงกับสถานการณ์ที่ถูกต้องกับผู้อ่าน โดยเฉพาะในส่วนของ ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ที่ยังมีหลายต่อหลายคนเข้าใจผิด ๆ ในการใช้งานอยู่ เพื่อให้การขับขี่ปลอดภัยมากที่สุดต่อตนเองและเพื่อนร่วมเส้นทาง สุดท้ายนี้นอกจากเรื่องของการใช้งานไฟบนรถให้ถูกต้อง และถ้าอยากจะให้อุ่นใจมากขึ้น อย่าลืม ซื้อ “ประกันภัยรถยนต์” ดี ๆ ติดรถเอาไว้ ซึ่ง SILKSPAN มีบริการซื้อประกันล่วงหน้า ช่วยให้คุณได้ความคุ้มครองที่ต้องการ ในเบี้ยประกันที่ตรงใจ แค่กรอกข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านล่างบทความนี้ แล้วทีมงานของเราจะนำข้อเสนอดี ๆ ไปมอบให้คุณในไม่กี่อึดใจ


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 17/12/2024
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด