เอารถเข้าไฟแนนซ์ แล้วเจ้าของเสียชีวิต ต้องทำอย่างไรต่อ
หลายๆ ครอบครัวอาจจะเอารถเข้าไฟแนนซ์ด้วยความจำเป็นบางอย่าง แต่ถ้าหากเจ้าของรถเกิดเสียชีวิตกะทันหัน ครอบครัวควรจะต้องทำอะไรบ้าง รถจะต้องไปอยู่กับบริษัทไฟแนนซ์หรือไม่
รถเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร
เมื่อเอารถเข้าไฟแนนซ์ บริษัทไฟแนนซ์ถือกรรมสิทธิ์รถคันนั้น หมายความว่าบริษัทไฟแนนซ์เป็นเจ้าของรถคันนั้น ซึ่งสามารถขาย โอน ย้าย รถคันนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ ส่วนผู้ที่เอารถเข้าไฟแนนซ์เรียกว่าเป็นผู้ครอบครอง คือเป็นผู้ที่ใช้รถได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะขาย โอน ย้ายรถคันนั้น
ถ้ารถยังผ่อนไม่หมด ต้องผ่อนต่อหรือไม่
หากรถยนต์ยังไม่ได้ทำการผ่อนให้ครบตามงวดที่ได้มีการระบุไว้ ทางไฟแนนซ์ก็จะยังทำการส่งบิลเรียกเก็บยอดค้างชำระเป็นไปตามปกติเช่นเดิม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับมรดกที่จะต้องทำการพิจารณา และตัดสินใจว่าต้องการรถไหม หากยังต้องการต้องก็ต้องทำการผ่อนต่อให้ครบตามจำนวนที่ค้างชำระไว้จบครบ แล้วให้ทางผู้จัดการมรดกทำการเรื่องเปลี่ยนสัญญาจากชื่อผู้เสียชีวิตเป็นชื่อของผู้รับมรดำแทนนั่นเอง
แต่ถ้าหากในกรณีทางผู้รับมรดกตัดสินใจว่าจะไม่ขอรับมรดกผ่อนรถยนต์ต่อ รถจะถูกไฟแนนซ์ยึดเพื่อไปทำการขายทอดตลาด ซึ่งหากมีการทำการซื้อขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เงินที่ได้เมื่อหักลบกับหนี้ค้างชำระที่มีอยู่ จะต้องตกเป็นของทายาท แต่ถ้าเงินที่ได้มาไม่พอในการชำระหนี้ ทางบริษัทไฟแนนซ์ก็จะต้องทวงส่วนที่ขาดจากทายาท เว้นแต่ว่ามีการทำประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุเอาไว้ในตอนที่เอารถเข้าไฟแนนซ์ ประกันก็จะมาชำระหนี้ให้ ทายาทไม่ต้องผ่อนค่างวดต่อ แต่ทายาทยังคงต้องไปร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อจะได้ถือกรรมสิทธิ์รถคันนั้น
หากยังต้องการผ่อนรถยนต์ต่อต้องระวังเรื่องใดบ้าง
หากผู้รับมรดกตัดสินใจทำการรับมรดกรถยนต์ และทำการผ่อนรถยนต์ต่อ สิ่งที่ควรตรวจสอบให้เรียบร้อยนั่นก็คือการเช็กสัญญาการเช่าซื้อจากไฟแนนซ์ให้เรียบร้อยดีก่อนการเริ่มผ่อนรถยนต์ โดยเฉพาะหากผู้ที่ต้องการทำการผ่อนรถยนต์ต่อไม่ใช่ผู้รับมรดกโดยชอบธรรม อาจเป็นญาติ หรือคนสนิท ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเช็กสัญญา หรือแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องเสียแต่แรก ป้องกันการถูกเบี้ยวกรรมสิทธิ์ในวันที่ผ่อนจนครบสัญญาแล้ว อาจมีผู้รับมรดกโดยชอบธรรมแสดงตัวเพื่อครอบครองกรรมสิทธฺิ์ ก็จะสร้างความยุ่งยากเพิ่มขึ้นมานั่นเอง
โอนรถเข้าไฟแนนซ์ ที่เจ้าของเสียชีวิต มีโอกาสไม่เสียค่าผ่อนรถต่อหรือไม่
คำตอบคือสามารถเป็นไปได้ ในกรณีวที่เจ้าของรถกที่เสียชีวิตไปแล้ว ทำการผ่อนชำระครบงวดแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการเรื่องเอกสารกรรมสิทธิ์กับทางไฟแนนซ์ให้เรียบร้อยนั่นเอง หากเป็นผู้รับมรดกโดยชอบธรรม สามารถให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการเปลี่ยนชื่อในสัญญา และดำเนินการเรื่องเอกสารเปลี่ยนชื่อให้เป็นของผู้รับมรดกได้
โอนรถในกรณีที่เจ้ารถเสียชีวิต ต้องใช้เอกสารออะไรบ้าง
โอนในกรณีที่มีพินัยกรรม ผู้รับเป็นผู้รับมรดก
- เล่มทะเบียนรถ
- หลักฐานการซื้อขาย การได้มาของทรัพย์สวิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาเช่าซื้อจากไฟแนนซ์
- บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้โอน
- บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับโอน
- สำเนาใบมรณบัตรของเจ้าของ
- เอกสารทางราชการที่ระบุชื่อผู้รับมรดก/ผู้จัดการมรดก หรือคำสั่งศาล พร้อมทั้งบัญชี และมีระบุรายละเอียดของตัวรถ
โอนในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรม หรือไม่มีคำสั่งศาล
- เล่มทะเบียนรถ
- หลักฐานการซื้อขาย การได้มาของทรัพย์สวิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาเช่าซื้อจากไฟแนนซ์
- บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้โอน
- บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับโอน
- หนังสือรับรองผลการสอบปากของทายาทจากที่ว่าวการอำเภท หรือสำนักงานเขต
ขั้นตอนการโอนรถยนต์ ในกรณีที่เจ้าของรถยนต์เสียชีวิต
- นำรถเข้าตรวจสภาพที่สำนักงานขนส่ง
- ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อมหลักฐาน
- ชำระค่าธรรมเนียม
- รอรับเอกสาร
ค่าใช้จ่ายในการโอนรถยนต์
- ค่าคำขอ เป็นจำนวน 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ เป็นจำนวน 100 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ เป็นจำนวน 500 บาท/ราคาการประเมินรถทุกๆ 100,000 บาท หากเจ้าหน้าที่่ขนส่งทำการประเมินราคารถยนต์ที่ราคา 200,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ก็จะเท่ากับจำนวน 1,000 บาท
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน เป็นจำนวน 200 บาท (หากไม่ต้องการเปลี่ยนไม่ต้องเสีย)
- ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน เป็นจำนวน 100 บาท (เฉพาะในกรณีที่เล่มทะเบียนมีสภาพที่เก่า หรือมีการชำรุด)
สรุป
ถ้าผู้ครอบครองเสียชีวิต ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นทรัพย์สินตกทอดแก่ทายาทได้ แต่ทายาทจะต้องร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก จึงจะได้เป็นผู้ครอบครองรถอย่างถูกต้อง และจัดการเรื่องไฟแนนซ์ต่อได้ แต่ถ้าไม่ยื่นร้องต่อศาลขอเป็นผู้จักการมรดก และไม่ผ่อนชำระต่อ รถก็จะถูกยึดไปขายทอดตลาด หากเงินที่ได้มามีเหลือหลังจากชำระหนี้แล้ว เงินนั้นก็จะต้องตกเป็นของทายาท