
เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับคำว่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ความหมายของ พ.ร.บ. ที่แท้จริงนั้นย่อมาจากอะไร และเรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องชำระค่าพ.ร.บ. และทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะส่วนใหญ่แล้วเราต่างรู้กันดีว่าจะต้องชำระภาษีทะเบียนรถยนต์ประจำปี ซึ่งการต่อ พ.ร.บ.ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นจะต้องต่ออายุในทุกปีเช่นเดียวกัน หากคุณเกิดความสงสัยกับสิ่งเหล่านี้ เราพร้อมที่จะไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และการต่อ พ.ร.บ.ให้คุณในบทความนี้
พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร? คุ้มครองใครบ้าง
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งมีความแตกต่างกับประกันรถยนต์แบบปกติที่เป็นประกันภัยภาคสมัครใจ พ.ร.บ. รถยนต์มีความหมายตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
โดยใจความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ทำออกมาก็เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยที่ไม่ได้มีการตัดสินว่าเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิด หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่เป็นฝ่ายเสียหายทุกคนก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงรถยนต์อย่างเดียวที่ต้อง ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบัส หรือรถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. และต่อ พ.ร.บ.เช่นกัน
ทำไมรถยนต์ทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. ทุกปี?
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จัดว่าเป็นประกันภัยภาคบังคับที่ต้องทำการต่อในทุก ๆ ปี แล้วมีเหตุผลด้านใดบ้างที่ทำไมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ทุก ๆ ปี
- ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้
เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนจะรู้ดีว่า ถ้าหากไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ได้สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้นั่นเอง ในกรณีที่ พ.ร.บ. ขาดอายุอยู่นั้นจะไม่สามารถยืนยันการคุ้มครองตามกฎหมายได้ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องทำการต่อภาษีรายปี
- ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และอาจถูกปรับ
การต่อ พ.ร.บ. เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างต่อเนื่อง หากไม่ต่อ พ.ร.บ. เจ้าของรถอาจถูกปรับตามกฎหมายจราจรสูงสุดถึง 10,000 บาท
- ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. จะทำให้เสียสิทธิ์ในการคุ้มครอง
หากเกิดอุบัติเหตุในช่วงที่ พ.ร.บ. ขาด รถจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันภาคบังคับ ยิ่งถ้าหากคุณเป็นฝ่ายผิด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถจะมาไล่เบี้ย และเก็บเงินเพิ่มอีก 20% และค่าปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท รวมไปถึงเหตุการณ์ที่ถ้าหากคุณต้องทำการโอนรถ หลังจากผ่านขั้นตอนการเตรียมเอกสารโอนรถ และโอนรถเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ยังจำเป็นที่จะต้องนำรถที่ได้ไปทำการต่อ พ.ร.บ.ให้เรียบร้อยด้วยเช่นกัน
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไร และสามารถต่อได้ที่ไหนได้บ้าง?
สำหรับการทำเรื่องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือต่อพ.ร.บ. ออนไลน์ในแต่ละครั้ง สามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละพื้นที่ หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์, ห้างสรรพสินค้า, ธนาคารเพื่อการเกษตร, จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส และสามารถสมัครผ่าน SILKSPAN ได้เช่นกัน โดยการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ในแต่ละครั้งจะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มตัวจริง
- ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
- ใบตรวจเช็กสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)
พ.ร.บ. รถยนต์ กับภาษีรถยนต์ ต่างกันหรือไม่?
หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจผิดว่า พ.ร.บ. รถยนต์และภาษีรถยนต์ คือสิ่งเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วพ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับที่คุ้มครองความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เพื่อปกป้องผู้ประสบภัยจากการใช้รถ ส่วนภาษีรถยนต์ คือการต่อทะเบียนประจำปีที่ต้องชำระเพื่อให้รถคันนั้นสามารถวิ่งบนท้องถนนได้ ซึ่งเงินภาษีที่เก็บจะถูกนำไปพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ แต่จุดที่ทำให้คนส่วนใหญ่สับสนก็เพราะการดำเนินการทั้งต่อ พ.ร.บ. และต่อภาษีรถยนต์นั้นจะต้องทำพร้อมกัน หากไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก่อน ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ หรือจะเป็นการต่อภาษีรถออนไลน์ได้

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ทำได้อย่างไรบ้าง?
ในปัจจุบันนี้วิธีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเองถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกเป็นอย่างมาก เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยทำให้เรื่องของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยวิธีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเองมีดังนี้
- กรมการขนส่งทางบก สามารถเดินทางไปยังกรมการขนส่งทางบกของแต่ละแห่งได้ โดยที่จะมีตัวแทนประกันภัยคอยรับผิดชอบและดูแลในการดำเนินเรื่อง เพียงแค่ยื่นสมุดรถพร้อมกับคำร้อง และชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
- บริษัทตัวแทน เรียกได้ว่านี่คืออีกหนึ่งช่องทางที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะบริษัทตัวแทนได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบกที่สามารถรับเรื่อง เดินเรื่องของการต่อ พ.ร.บ.และภาษีรถได้
- ช่องทางออนไลน์ อีกหนึ่งช่องทางในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่เรียกได้ว่าสะดวกสบายและประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมาก เพียงแค่ลงทะเบียนยื่นผ่าน https://eservice.dlt.go.th พร้อมกับเตรียมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งข้อสำคัญของการต่อพ.ร.บ. ออนไลน์จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันหมดอายุ หรือต้องทำล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนที่ พ.ร.บ. จะหมดอายุ
วิธีต่อ พ.ร.บ รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ทำได้อย่างไรบ้าง?
หากรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปี ก่อนทำการต่อ พ.ร.บ. ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อประเมินความปลอดภัย และประเมินความพร้อมของส่วนต่าง ๆ ของตัวรถ เมื่อผ่านการตรวจสภาพแล้วจึงจะสามารถดำเนินการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และภาษีรถยนต์ได้ตามปกติ ซึ่งสามารถเลือกดำเนินการได้ที่สำนักงานขนส่ง หรือสำนักงานขนส่งสาขาที่ใกล้บ้าน รวมไปถึงการต่อผ่านทางออนไลน์ ผ่านช่องทางโบรกเกอร์ประกันภัย ตัวแทนประกันภัย และช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ได้เช่นกัน
พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละประเภทราคากี่บาท?
สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นการจ่ายค่าคุ้มครองพื้นฐานก่อนประกันภาคสมัครใจที่จะต้องทำการสมัครด้วยตัวเอง โดย พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่จะไม่ครอบคลุมค่าเสียหายหรือค่าซ่อมแซมอื่น ๆ โดยที่ราคาของรถแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามการประเภทการจดทะเบียนรถอีกด้วย โดยราคาการต่อ พ.ร.บ. ของรถแต่ละประเภท ได้แก่
การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คือการจ่ายค่าคุ้มครองพื้นฐานที่กฎหมายได้มีกำหนดไว้ก่อนจะทำประกันภาคสมัครใจ โดยพ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ คุ้มครองครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่คุ้มครองค่าเสียหายของรถ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ โดยแต่ละประเภทจะมีอัตราเบี้ยที่กำหนดไว้ชัดเจน ดังนี้
ราคา พ.ร.บ. รถยนต์
- รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พ.ร.บ. รถเก๋ง) ราคา 600 บาท
- รถยนต์โดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พ.ร.บ. รถเก๋งไฟฟ้า) ราคา 600 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (พ.ร.บ. รถตู้) ราคา 1,100 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,740 บาท
ราคา พ.ร.บ. รถกระบะ รถบรรทุก
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน (พ.ร.บ. รถกระบะ) ราคา 900 บาท
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ราคา 1,220 บาท
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,310 บาท
- รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,680 บาท
- รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน ราคา 2,320 บาท
ขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ไม่เกินกี่วัน? ต่อได้ล่วงหน้าสูงสุดกี่วัน?
สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่ไม่สามารถปล่อยให้ขาดได้แม้แต่วันเดียว ทั้งนี้ การต่อพ.ร.บ. สามารถดำเนินการล่วงหน้าได้สูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วันก่อนวันหมดอายุ หากลืมต่อหรือปล่อยให้หมดอายุ จะมีผลกระทบตามระดับเวลาที่ขาดดังนี้
- พ.ร.บ. รถยนต์ขาดไม่เกิน 1 ปี ยังสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ในทันที โดยไม่ต้องเสียค่าปรับพ.ร.บ. แต่ต้องจ่ายค่าปรับในส่วนของภาษีแทน
- หากขาดเกิน 2 ปีขึ้นไป จะต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ตรอ. ต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ และจำเป็นต้องเสียค่าปรับ
- หากขาดเกิน 3 ปีขึ้นไป มีโอกาสสูงที่ทะเบียนรถจะถูกระงับ และต้องทำการจดทะเบียนใหม่ รวมถึงอาจถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย
สรุป การเตรียมเอกสารไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่าเรื่องของ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญและจะขาดไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะพ.ร.บ. รถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นที่รถทุกคนต้องมีและไม่ได้มอบความคุ้มครองแบบย้อนหลัง จึงทำให้หลายคนต้องมีการหมั่นตรวจเช็กวันหมดอายุของ พ.ร.บ. อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น หากรู้แล้วว่าใกล้จะถึงวันหมดอายุก็ควรที่จะรีบดำเนินการล่วงหน้าเผื่อเอาไว้ พร้อมกับเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อทำให้การต่อ พ.ร.บ.เป็นไปอย่างราบรื่น
สำหรับใครที่กำลังอยู่ในช่วงที่มองหาประกันรถยนต์ใหม่ สามารถเข้ามาเลือกประกันภาคสมัครใจได้ที่ SILKSPAN เพราะที่นี่ให้คุณสามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้มากกว่า 20 บริษัทประกันชั้นนำที่เลือกได้ตามต้องการ พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง รวมถึงยังมีโปรโมชันส่วนลดอีกมากมายให้คุณประหยัดได้มากกว่า 30% นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกได้ว่าจะชำระแบบเต็มจำนวนหรือผ่อน 0% นาน 10 เดือน ได้ทั้งบัตรเครดิต และเงินสดทุกธนาคาร เรียกได้ว่าที่ SILKSPAN พร้อมมอบประกันรถยนต์ที่ดีและตอบโจทย์การใช้งานของคุณได้มากที่สุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- Facebook : SILKSPAN
- Instagram : silkspan
- Line Official : @SILKSPAN
- X (twitter) : SILKSPAN
- Youtube : SILKSPAN
- TikTok : silkspan