ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 750 บาท/เดือน ที่ SILKSPAN

ทำประกันรถ แบบบุคคลธรรมดา vs แบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร ?


ทำประกันรถแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร

สำหรับการทำประกันรถ นั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของรถได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน โดยการทำประกันรถ ในปัจจุบันนี้ นั้นมีให้เจ้าของรถนั้นได้เลือกการทำกรมธรรม์ประกันรถอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าของรถ หลาย ๆ ท่าน อาจจะมีข้อสงสัยว่าการทำประกันรถยนต์ ทั้งสองประเภท นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับตนเองหรือธุรกิจของตนมากที่สุด ในนี้เราจะพาท่านมาทำความเข้าใจ และทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างการทำประกันรถยนต์ของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลโดยละเอียด เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ในการช่วยให้ท่านเลือกกรมธรรม์ หรือทำประกันรถยนต์ ต่อ ๆ ไป ในอนาคต

 

ความหมายของการ ทำประกันรถ แบบ “บุคคลธรรมดา” และ “นิติบุคคล”

ทำประกันภัยรถ ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา หมายถึงบุคคลทั่วไปที่มีสถานะเป็นเจ้าของรถหรือพาหนะ ต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้เป็นเจ้าของรถสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยในนามของตนเอง เพื่อที่จะคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือบุคคลที่สาม

การทำประกันรถยนต์ ในรูปแบบของนิติบุคคล นั้นหมายถึงการทำประกันภัยการใช้งานรถให้กับ องค์กร หรือ หน่วยงาน ที่มีสถานะทางกฎหมายเป็นเจ้าของรถยนต์ เช่น บริษัท ห้างร้าน ห้างหุ้นส่วน หรือ องค์กรธุรกิจ ต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากการทำประกันรถมักจะนิยมทำในนามของบริษัท เพื่อที่จะคุ้มครองการใช้งานในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก

 

ความแตกต่างระหว่างประกันรถของ บุคคลธรรมด าและ นิติบุคคล

1.ชื่อผู้เอาประกันและกรรมสิทธิ์ของรถ

โดยปกติแล้วนั้น เราสามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างประกันรถของ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลได้ง่าย ๆ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากชื่อของผู้เอาประกัน และชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ของรถ โดยทั่วไปประกันรถของบุคคลธรรมดามักจะเป็นชื่อข้อเจ้าของรถ หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ ยกตัวอย่างเช่น นายดำ หรือ นางสาวแดง แต่หากเป็นการทำประกันรถยนต์ในรูปแบบของนิติบุคคลแล้วนั้น ชื่อผู้เอาประกันหรือชื่อในกรมธรรม์นั้นจะเป็นชื่อขององค์กร หน่วยงาน ห้างร้าน ต่าง ๆ ที่จดทะเบียนเป็นผู้ซื้อรถหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถ เช่น บริษัท รุ่งเรือง จำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วน เจริญพาณิชย์

2.วัตถุประสงค์ในการใช้รถ

อีกหนึ่งการสังเกตง่าย ๆ เพื่อเปรียบเทียบการทำประกันรถที่ชัดเจนว่า เป็นการทำประกันรถยนต์ในรูปแบบ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล นั่นก็คือวัตถุประสงค์ในการใช้งานรถ โดยปกติแล้วการทำประกันรถยนต์ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา จะครอบคลุมการประกันการใช้งานของบุคคลทั่วไป เช่น การสัญจร การเดินทางท่องเที่ยว และการใช้งานโดยทั่วไปเป็นหลัก แต่หากเป็นการทำประกันในรูปแบบของนิติบุคคลแล้วนั้น ประกันรถยนต์ ในรูปแบบของนิติบุคคลจะเน้นการคุ้มครองการใช้งานรถยนต์ในเชิงพาณิชย์ หรือในทางธุรกิจเป็นหลัก

3.ประเภทของประกันที่เหมาะสม

สำหรับการทำประกันรถของบุคคลธรรมดานั้น การทำประกันในรูปแบบนี้ ผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยจะมีตัวเลือกของประกันที่หลากหลายกว่าประเภทนิติบุคคล โดยประกันภัยประเภทนี้จะมีตัวเลือกของกรมธรรม์ประกันที่หลากหลาย และยังกรมธรรม์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3+ หรือ ประกันชั้น 3 ซึ่งกรมธรรม์ประกันเหล่านี้ นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตัวเจ้าของรถ โดยเจ้าของรถมักจะเลือกประกันที่ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายและการใช้งานในชีวิตมากที่สุด ซึ่งจะแตกต่างกับประเภทนิติบุคคลในด้านของตัวเลือก โดยส่วนใหญ่แล้วการทำประกันรถประเภทนิติบุคคลนั้น ผู้ทำประกันภัยมักจะเลือกประกันประเภท ชั้น 1 หรือ 2+ เป็นหลัก เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์

4.ค่าเบี้ยประกัน

ประกันรถยนต์ประเภทบุคคลธรรมดานั้นจะมีอัตราค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่า เพราะการใช้งานรถของบุคคลธรรมดานั้นมีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุที่ต่ำกว่าการใช้งานในเชิงพาณิชย์ หรือประเภทนิติบุคคล ซึ่งทำให้ประกันรถยนต์ประเภทนิติบุคคลนั้นจะมีอัตราค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่า เนื่องจากรถยนต์ถูกใช้เพื่อการพาณิชย์และมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่า

5.การคำนวณค่าเสื่อมราคา

การคำนวณค่าเสื่อมราคาของประกันรถยนต์ในรูปแบบบุคคลธรรมดานั้น รถจะถูกคิดค่าเสื่อมราคาตามการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งาน แต่สำหรับการทำประกันรถแบบนิติบุคคลของบริษัทสามารถนำค่าเสื่อมราคา ไปใช้ในการคำนวณภาษีธุรกิจและรถหย่อนภาษีได้

6.สิทธิประโยชน์ทางภาษี

ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ของ ประกันภัยรถยนต์ แบบ บุคคลธรรมดาจะไม่สามารถที่จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่การทำประกันรถ แบบนิติบุคคล ค่าเบี้ยประกันภัยถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจะสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในเชิงพาณิชย์ของบริษัทเพื่อลดหย่อนภาษีได้

สุขใจทุกการเดินทาง ประกันรถยนต์ชัั้น 1 ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

ความคุ้มครองที่ได้รับจาก ทำประกันรถ

การคุ้มครองการทำประกันรถยนต์ หรือทำประกันรถของ บุคคลธรรมดา นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของกรมธรรม์ ยกตัวอย่างเช่น

  • ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
  • ค่าซ่อมแซมรถยนต์ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
  • ค่าชดเชยกรณีสูญเสียรถยนต์จากอุบัติเหตุหรือการโจรกรรม

แต่ประกันภัยสำหรับ นิติบุคคล มักให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมต่อการใช้งานที่มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

  • ความคุ้มครองสำหรับพนักงานหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้รถ
  • ค่าชดเชยในกรณีที่รถถูกขโมยหรือเกิดความเสียหายจากการใช้งานในเชิงธุรกิจ
  • การคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับบริษัทในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

 

ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันรถ หรือการทำประกันรถยนต์

รูปแบบบุคคลธรรมดา

ประกันภัยในรูปแบบของบุคคลธรรมดา มีข้อดีดังต่อไปนี้

  • ค่าเบี้ยประกันกรมธรรม์ถูกกว่า
  • เงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน
  • สามารถเลือกกรมธรรม์ได้ตามงบประมาณที่ต้องการ

ข้อเสียของประกันภัยรถยนต์ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา

  • ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันกรมธรรม์ไปลดหย่อนภาษีได้
  • คุ้มครองเฉพาะในกรณีใช้งานส่วนตัว ไม่ครอบคลุมการใช้งานในเชิงพาณิชย์ หรือในเชิงธุรกิจ

รูปแบบนิติบุคคล

ประโยชน์และข้อดีของประกันภัยนรูปแบบนิติบุคคล

  • สามารถใช้ค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันเป็นค่าใช้จ่ายในเชิงธุรกิจได้ และการลดหย่อนภาษีได้
  • คุ้มครองการใช้งานในรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้อย่างครอบคลุมมากกว่า

ข้อเสียของประกันรถในรูปแบบนิติบุคคล

  • ค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันมีราคาที่สูงกว่าแบบบุคคลธรรมดามาก
  • มีเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ซับซ้อนกว่า

ทำประกันรถแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือก ทำประกันรถ

  1. หากใช้รถเพื่อธุรกิจ การเลือกทำประกันในนามนิติบุคคลนั้นอาจช่วยให้เจ้าของรถได้รับประโยชน์จากการทำประกันรถยนต์ที่มากกว่า
  2. เจ้าของรถควรจะเปรียบเทียบค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกัน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์อย่างละเอียดในทุก ๆ ครั้ง
  3. ผู้สมัครกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ควรตรวจสอบรายละเอียดกรมธรรม์ให้แน่ใจว่าตอบโจทย์ในการใช้งาน และมีความถูกต้องเหมาะสมกับแนวทางในการใช้งาน
  4. การคำนวณเบี้ยประกันและเลือกประกันที่เหมาะสมต่อการใช้งานรถเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยให้ท่านสามารถได้รับค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันที่เหมาะสม และยังสามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้ใช้ลดหย่อนภาษีได้

 

บทสรุป

การเลือกทำประกันรถ ในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้รถ ค่าใช้จ่าย และสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากท่านนั้นเป็นบุคคลธรรมดา การเลือกทำประกันรถที่ตอบโจทย์การใช้งาน และ งบประมาณของท่านนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วนผู้ที่เป็นนิติบุคคลควรพิจารณาถึงความคุ้มครองที่ครอบคลุม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ เลือกประกันที่เหมาะสมต่อการ สิ่งนี้จะช่วยให้ท่านได้รับความคุ้มครองได้อย่างดีที่สุด และบริหารความเสี่ยงในการใช้งานประกันในรูปแบบ ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 22/02/2025
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์! ซื้อประกันรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN รับสิทธิประโยชน์

  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

taff-call
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”
line

กำลังโหลด