ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท ต่อประกันแบบไหนดีที่สุด ?
รู้หรือไม่ ? ในปี 2567 ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากเกือบ 700,000 ราย และตัวเลขก็จะยังคงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วันที่ผ่านพ้นไป นั่นคือเหตุผลสำคัญว่าทำไม คุณถึงต้องมี “ประกันรถยนต์” ติดรถเอาไว้ เพราะนี่คือหลักประกันที่จะช่วยทำให้คุณอุ่นใจมากยิ่งขึ้น แม้จะเป็นช่วงจังหวะชีวิตที่ต้องเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนน แต่ถ้าใครที่ไม่เคยรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์มาก่อนเลย ไม่ว่ารู้ว่ามีกี่แบบ เลือกต่อประกันรถยนต์แบบไหนดี บทความนี้เรามีคำตอบดี ๆ มาฝาก ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย
ประกันรถยนต์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?
ตามจริงแล้ว ถ้าเปรียบเทียบประเภทของประกันรถยนต์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ เท่านั้นคือ “ภาคสมัครใจ” และ “ภาคบังคับ” ซึ่งความแตกต่างของประกันทั้งสองรูปแบบก็จะมีดังต่อไปนี้
-
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
เริ่มต้นกันที่ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” แน่นอนว่าชื่อของมันก็บ่งบอกอย่างชัดเจน ว่าเป็นประกันที่มีการบังคับให้ทำ เมื่อพูดถึงชื่อเต็ม ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเรียกว่าเป็น พรบ. เชื่อว่าทุก ๆ คนจะต้องร้อง อ๋อออ ! ขึ้นมาในทันที ซึ่งไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ กระบะ รถเก๋ง รถตู้ รถบรรทุก หรือ รถจักรยานยนต์ ก็จำเป็นจะต้องทำประกันประเภทนี้กันทั้งหมด และจะต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี มิฉะนั้นจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ พร้อมกับมีโทษปรับเมื่อถูกกวดขันวินัยจราจรอีกด้วย
-
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
“ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” เป็นประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองโดยภาคเอกชน วงเงินความคุ้มครองก็จะสูงมากกว่า ความคุ้มครองก็จะมีความหลากหลาย เลือกปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน และ ยังสามารถเลือกบริษัทประกันภัยได้อีกด้วย การต่อประกันจะเป็นแบบปีต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกฎหมายที่บังคับว่าจะต้องทำประกันในรูปแบบนี้ แต่ด้วยความคุ้มครองที่ค่อนข้างครอบคลุม จึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่คนใช้รถใช้ถนนเป็นประจำ ขาดไปไม่ได้โดยเด็ดขาด
ชั้นของประกันภัยรถยนต์คืออะไร ? มีความแตกต่างมากน้อยเพียงใด
ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่า “ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ” สำคัญต่อการใช้รถใช้ถนนจริง ๆ แม้จะมีประกันภาคบังคับติดรถเอาไว้แล้วก็ตาม ซึ่งในทุก ๆ ปีผู้ใช้รถทุกคนจะต้องมาตัดสินใจ ว่าจะต่อประกันรถยนต์แบบไหนดี ? จะเปลี่ยนบริษัทประกันดีไหม จะปรับเปลี่ยนความคุ้มครองหรือไม่ และ ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของ “ชั้น” ของประกันภัยรถยนต์ หากใครที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าแต่ละชั้นของประกันหมายถึงอะไร เนื้อหาต่อจากนี้ช่วยให้คุณเข้าใจได้อย่างแน่นอน
- ประกันชั้น 1 เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด เบี้ยประกันแพงสูง คุ้มครองทุกกรณีไม่ว่าจะถูกหรือผิด แม้ไม่มีคู่กรณีก็ยังคุ้มครอง เหมาะกับรถใหม่ป้ายแดง หรือ ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองที่สูงที่สุด
- ประกันชั้น 2+ ความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 แต่จะต้องเป็นอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองระดับสูง แต่ไม่อยากซื้อประกันชั้น 1 และควรขับรถช่ำชองพอสมควร
- ประกันชั้น 3+ ความคุ้มครองยังคล้ายกับประกันชั้น 2+ แต่จะไม่คุ้มครองในกรณีรถถูกไฟไหม้ หรือ รถถูกโจรกรรม เหมาะกับผู้ที่จอดรถในพื้นที่ปลอดภัย มีรั้วรอบขอบชิด ตัวรถมีอายุการใช้งานพอสมควร
- ประกันชั้น 2 ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถตนเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี แต่ในส่วนผู้เกี่ยวข้องดูแลทั้งหมด มีความคุ้มครองรถต่อการถูกโจรกรรม เหมาะกับรถที่มีมูลค่าไม่สูงแล้ว รถมือสอง หรือ รถที่ไม่ค่อยใช้งาน
- ประกันชั้น 3 เป็นประกันภัยรถยนต์ที่เบี้ยประกันถูกที่สุด ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี เหมาะกับรถที่ค่อนข้างเก่า รวมถึงรถที่ไม่ค่อยนำมาใช้งานบนท้องถนน
ต่อประกันรถยนต์แบบไหนดีที่สุด ? หาคำตอบง่าย ๆ ด้วย 5 ข้อสังเกต
เราคงไม่ต้องอธิบายถึงประกันรถยนต์ภาคบังคับกันแล้ว เพราะทุก ๆ คนควรจะต้องต่อ พรบ. เป็นประจำในทุก ๆ ปี ไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อให้เลือกได้ว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ควรจะเลือกต่อแบบไหนดี ถ้าอยากให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เราอยากแนะนำ 5 ข้อสังเกตดังต่อไปนี้ ถ้าได้ประเมินตามที่เราแนะนำ แล้วคุณจะพบว่า ประกันภัยรถยนต์แบบไหน เหมาะกับคุณมากที่สุด
1. ใช้รถบ่อยแค่ไหน ?
ยิ่งใช้รถบ่อยเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่ใช้รถเป็นประจำควรจะต้องมองหาประกันรถยนต์ ที่มีความคุ้มครองสูงที่สุดเท่าที่จะจ่ายเบี้ยประกันไหว กลับกันหากไม่ค่อยได้ใช้รถสักเท่าไหร่ ก็ปรับลดความคุ้มครองลงมา เพื่อไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองจนเกินไปในแต่ละปี
2. มูลค่ารถสูงหรือไม่ ?
ไม่ว่าจะ รถเก๋ง รถกระบะ ต่างก็มีหนึ่งสิ่งที่เหมือนกันคือ “มูลค่า” ถ้าเป็นรถใหม่ป้ายแดง มูลค่าก็จะอยู่ในจุดที่สูงที่สุด เมื่อผ่านระยะเวลาการใช้งาน เริ่มมีรถรุ่นใหม่ ๆ ผลิตออกมา มูลค่าก็จะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งมูลค่าของตัวรถเป็นตัวกำหนดว่า เบี้ยประกันที่ควรจะต้องมีนั้นต้องสูงเท่าไหร่ ตามปกติแล้วควรจะไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่ารถ
3. พฤติกรรมการขับขี่เป็นอย่างไร ?
ส่วนนี้ต้องมองกลับมาที่ตัวคนขับ ประเมินตัวเองดูก่อนว่า ถ้าคะแนนเต็ม 10 ทักษะการขับรถอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ ถ้ามั่นใจว่าชำนาญเต็ม 10 และขับรถด้วยความระมัดระวัง ก็ไม่ต้องทำประกันที่มีวงเงินคุ้มครองสูง ๆ อย่างเช่น ประกันชั้น 1 แต่สำหรับมือใหม่หัดขับ อาจซุ่มซ่ามขับเฉี่ยวชนบ่อย ๆ บางกรณีก็ไปชนสิ่งของทั่วไป กรณีนี้ประกันชั้น 1 เท่านั้นที่เหมาะกับคุณ
4. ใช้รถในพื้นที่ไหน ?
พื้นที่การใช้รถเองก็มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจ เพราะความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นพื้นที่เมือง หากใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูง ๆ ก็มักจะปัญหาเกี่ยวกับการเฉี่ยวชนแบบบ่อยครั้ง ความคุ้มครองก็ควรต้องสูงตาม แต่ถ้าเป็นย่านชานเมืองที่สงบสุข ไม่มีความวุ่นวายจอแจ หรือ เป็นรถยนต์กระบะที่ใช้ในพื้นที่ชนบท ก็ควรจะทำประกันชั้น 2 หรือ 3 น่าจะเพียงพอแล้ว
5. ต่อประกันรถยนต์กับใคร ?
สิ่งสุดท้ายคือ คุณจะตัดสินใจต่อประกันรถยนต์กับใคร ? เพราะบริษัทประกันภัยรถยนต์ทุกวันนี้มีเยอะมาก ยังไม่นับรวมเหล่านายหน้าขายประกันอีกนับไม่ถ้วน การเลือกใช้บริการควรจะต้องมองหาสิ่งที่ดีที่สุด เพราะคุณจะได้รับส่วนลด สิทธิพิเศษ บริการอันยอดเยี่ยม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุด เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันก็มั่นใจว่า จะได้รับความคุ้มครองเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาข้อพิพาทชวนให้กังวล
บทส่งท้าย
เราเคยกล่าวไปแล้วหลายครั้ง ในบทความก่อน ๆ เราไม่สามารถชี้นำได้ว่าประกันรถยนต์แบบไหนดีที่สุด แต่เราสามารถแนะนำคุณได้ว่า ประกันภัยรถยนต์แบบไหน “เหมาะกับคุณมากที่สุด” หากคุณยังเลือกไม่ได้ ว่าจะต่อประกันรถยนต์อย่างไรดี ให้ผู้เชี่ยวชาญของ SILKSPAN ช่วยหาคำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุดให้กับคุณ ปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมส่วนลดสุดพิเศษสูงกว่า 30% ยังไม่รวมกับสิทธิพิเศษอีกมากมาย หากคุณตกลงจะเป็นลูกค้าของเรา