ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.รถยนต์ทุกปี? ขาดต่อพ.ร.บ.รถยนต์มีผลเสียอะไรมั้ย?
พ.ร.บ.รถยนต์เป็นสิ่งทื่รถยนต์ที่คันต้องมี และถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คนมีรถยนต์ทุกคนไม่สามารถมองข้ามไปได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของการใช้งานรถยนต์ ต่อผู้ใช้งานรถยนต์ และผู้ใช้งานท้องถนน สำหรับการทำพ.ร.บ.รถยนต์ก็ถือว่าเป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำ ซึ่งเป็นประกันภัยนรถยนต์ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันภายในประเทศไทยต้องทำ ซึ่งถ้าหากไม่ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ทุกปีจะมีปัญหาเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
การทำประกันรถยนต์ให้กับรถยนต์ สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภทได้ง่ายๆ นั่นก็คือ ประกันภัยภาคบังคับ และประกันภัยภาคสมัครใจ สำหรับประกันภัยภาคบังคับ นั่นก็คือ พ.ร.บ.รถยนต์ นั่นเอง แล้วประกันภัยทั้งสองแตกต่างกันหรือไม่ จำเป็นต้องต่ออายุประกันภัยทุกๆ ปีหรือเปล่า
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์)
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่หลายๆ คนมักคุ้นหูกันในชื่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภัยรถยนต์ที่จำเป็นจะต้องทำการต่ออายุทุกปี พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือต้องได้รับการรักษาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นประกันภัยที่ทางกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ เพื่อเป็นพื้นฐานในการให้การคุ้มครองความเสียหาย และค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ก็เป็นลักษณะการเลือกทำประกันภัยรถยนต์เพื่อเสริมความคุ้มครองในด้านที่ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับไม่ได้ให้ความคุ้มครอง หรือว่าให้ความคุ้มครองไม่ได้ครอบคลุมในบางเรื่องตามคำว่า “สมัครใจ” ซึ่งประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ มีความแตกต่างกับการทำพ.ร.บ.รถยนต์ที่ว่าเจ้าของรถยนต์ไม่จำเป็นจะต้องทำการต่อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนี้ทุกปี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของรถยนต์ที่ต้องการให้รถยนต์ของคุณได้รับความคุ้มครองเพิ่มมากน้อยเพียงใด ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ก็สามารถเลือกทำกับบริษัทประกัน และโบรกเกอร์ประกันชั้นนำได้เช่นเดียว และสามารถเลือกความคุ้มครองได้ตั้งแต่ ประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 2, ชั้น3+ และชั้น 3 ที่ให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันตามวงเงินประกันที่ได้
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองในด้านใดบ้าง
ประกันภัยรถยนต์โดยทั่วไปที่ทุกคนรู้จัก มักให้ความคุ้มครองในหลากหลายด้านตามประเภทของประกันรถยนต์ที่ได้เลือกทำ สำหรับพ.ร.บ.รถยนต์เองก็ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยได้รับการบาดเจ็บจากรถ โดยจะแบ่งความคุ้มครองออกเป็นน 2 ส่วน ได้แก่
พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น
เป็นการให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นตั้งแต่ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือบุคคลอื่นที่ได้เกิดความเสียหายจากเหตุการณ์ สามารถได้รับความคุ้มครองทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิด
- กรณีที่เกิดอาการบาดเจ็บ จะได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่จ่ายตามตัวเลขจริง เป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- กรณีที่เกิดการสูญเสียอวัยวะ หรือเกิดการทุพพลภาพถาวร หากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายทางร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวน 35,000 บาทต่อคน
- กรณีที่เกิดการเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับงานศพ เป็นจำนวน 35,000 บาทต่อคน
พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
ในส่วนของความคุ้มครองความเสียหาย จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก
- กรณีได้รับบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยได้รับค่ารักษาพยาบาลตามหลักฐานการชำระเงิน เป็นจำนวนไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- กรณีที่เกิดการเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนสูงสุดเป็นจำนวนไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทนจำนวนเงินเฉลี่ยที่ 200,000 – 500,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่สูญเสียและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
- กรณีผู้ป่วยใน หากเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่สถานพยาบาลจะได้รับค่าชดเชยรายวัน เป็นจำนวนวันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
ทำไมต้องพ.ร.บ.รถยนต์ทุกปี
การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องทำการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ทุกปี เพราะถือว่าเป็นการปฎิบัติตามกฎหมาย ซึ่งถ้าหากฝ่าฝืน และทำการขับขี่รถยนต์ที่ไม่ได้ทำการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าพ.ร.บ.รถยนต์ขาด จะมีโทษปรับเป็นตามกฎหมายด้วยเช่นกัน และนอกจากที่ผิดกฏหมายแล้ว ถ้าหากไม่ได้ทำการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ รถยนต์ของคุณก็ไม่สามารถทำการจ่ายภาษีรถยนต์หลายปีด้วยได้เช่นกัน
ถ้าขาดต่อพ.ร.บ.รถยนต์มีผลเสียอย่างไร?’
มีความผิด โดนค่าปรับ
หากไม่ได้ทำการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ จะมีโทษปรับตามกฎหมาย เป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของคุณขาดต่อพ.ร.บ.นอกจากรถยนต์ของคุณจะถูกปรับเนื่องจากฝ่าฝืนใช้งานรถแล้ว นอกจากนั้นก็ยังไม่สามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ด้วยได้เช่นกัน ซึ่งการที่รถยนต์ของคุณไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และมีการฝ่าฝืนที่ขับขี่ คุณอาจโดนโทษอีกต่อหนึ่ง โดยอาจมีโทษรปรับครั้งละ 400-1,000 บาทด้วยเช่น
ถ้าเป็นฝ่ายผิด โดนปรับเพิ่ม
ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด ทางกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถจะทำการปรับเงินเพิ่มเนื่องจากนำรถยนต์ที่ไม่ได้รถพ.ร.บ.มาใช้งาน เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท
พ.ร.บ.รถยนต์ ขาดต่อได้กี่วัน
พ.ร.บ.รถยนต์ไม่สามารถปล่อยให้ขาดต่อ หรือหมดอายุได้แม้แต่เพียงวันเดียว ถ้าหากขาดต่อมีโดนปรับอย่างแน่นอน แต่สำหรับคนที่กลัวโดนค่าปรับจากการขาดต่อพ.ร.บ.ก็สามารถทำการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ได้ล่วงหน้าสูงสุดถึง 3 เดือน หรือ 90 วัน ซึ่งการต่อล่วงหน้านี้ก็จะช่วยให้คุณไม่ลืม และไม่ขาดพ.ร.บ.รถยนต์เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง และไม่โดนโทษปรับอีกด้วย