การันตี เช็กเบี้ยประกันล่วงหน้าถูกลงถึง 30%

ไขข้อสงสัย ใบขับขี่ของประเทศไทย สามารถใช้ที่ไหนได้บ้าง


ใบขับขี่ของไทยใช้ที่ไหนได้บ้าง ฉบับอัปเดต 2567

เมื่อผ่านช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ก็ทำให้ทั่วโลกกลับมาเปิดประเทศกันอีกครั้ง การท่องเที่ยวต่างประเทศก็เริ่มกลับมาคึกคักกันอีกครั้ง สำหรับผู้ที่กำลังเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ และต้องการเช่ารถเพื่อให้การเดินทางในต่างประเทศสะดวกเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น เรามาดูกันเลยว่าใบขับขี่รถยนต์ของประเทศไทย สามารถใช้กับประเทศอะไรได้บ้าง โดยบทความนี้จัดขึ้นมาในปี 2567 เป็นการอัปเดตข้อมูลล่าสุดที่รับรองว่าคุณไม่ตกเทรนด์อย่างแน่นอน

 

รู้หรือไม่ ! ใบขับขี่ของไทยใบเดียว ใช้เดินทางได้ถึง 10 ประเทศ

เมื่อช่วงเดือน สิงหาคม ปี 2560 ประเทศไทยได้มีการยกระดับ ประสิทธิภาพของใบขับขี่รถยนต์ จากใบขับขี่แบบเก่าที่เป็น “แบบกระดาษ” ให้เปลี่ยนเป็น “ใบขับขี่ Smart Card” ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะใช้ฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จากแถบแม่เหล็กภายในใบขับขี่ ทำให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย และยากต่อการปลอมแปลง ซึ่งอีกหนึ่งเรื่องน่าสนใจคือ ใบขับขี่แบบ Smart Card สามารถใช้เดินทางใน 10 ประเทศอาเซียนได้ทั้งหมด นอกจากประเทศไทยแล้ว ก็ยังใช้ได้ใน 9 ประเทศอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  1. มาเลเซีย
  2. เวียดนาม
  3. กัมพูชา
  4. ลาว
  5. อินโดนีเซีย
  6. บรูไน
  7. ฟิลิปปินส์
  8. สิงคโปร์
  9. เมียนมา

 

หากต้องการออกจากประเทศกลุ่มอาเซียนจะต้องทำอย่างไร ?

หากคุณเดินทางเพียงแค่ประเทศใกล้เคียงอย่าง 9 ประเทศที่เหลือในกลุ่มอาเซียน อย่างที่กล่าวไปในช่วงต้น ว่าสามารถใช้ใบขับขี่ไทยแบบ Smart Card โดยไม่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ยกเว้นการนำรถในประเทศไทยออกไปขับขี่ในต่างประเทศ จะต้องยื่นเรื่องขอรับแผ่นทะเบียนตามข้อตกลงของประเทศนั้น ๆ แต่สำหรับผู้ที่เดินทางออกจากประเทศกลุ่มอาเซียน จำเป็นจะต้องขอ “ใบขับขี่สากล” ซึ่งเป็นใบขับขี่ที่มีขั้นตอนการดำเนินการ ที่ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด เพียงแค่คุณจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม และ ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น

ล็อคราคา ต่อประกันชั้น 1 ล่วหน้าก่อนหมดอายุ

ใบขับขี่สากลคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

จากเนื้อหาก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึง “ใบขับขี่สากล” กันไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่านี่คือใบขับขี่ที่ใช้สำหรับการขับขี่รถยนต์ในประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่มอาเซียน เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำคัญที่ผู้เดินทางไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะกฎหมายด้านการจราจรของต่างประเทศค่อนข้างร้ายแรง โดยใบขับขี่สากลนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบ่งตาม อายุการใช้งาน พื้นที่อนุญาต และ อนุสัญญา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

·      ประเภท 1 ปี

ใบขับขี่สากลแบบ 1 ปี จะเป็นใบขับขี่ที่ว่าตามอนุสัญญาด้วยการจราจรทางถนน ณ นครเจนีวา เมื่อปี 1949 ในปัจจุบันสามารถใช้ได้ใน 101 ประเทศทั่วทุกมุมโลก โดยประเทศที่รองรับใบขับขี่สากลประเภทนี้ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น , เกาหลีใต้ , บราซิล , แคนาดา , นิวซีแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น เหมาะกับการท่องเที่ยวระยะสั้น

·      ประเภท 3 ปี

ในส่วนของใบขับขี่สากลแบบ 3 ปี หรือ ใบขับขี่ว่าตามอนุสัญญาจราจรทางถนน ณ กรุงเวียนนา เมื่อปี 1968 จะเป็นใบขับขี่สากลที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้บางประเทศที่ไม่ได้รับรองใบขับขี่สากลแบบเจนีวา อาทิเช่น เยอรมนี , บราซิล , สวิตเซอร์แลนด์ , ยูเครน และ บอสเนีย เป็นต้น แต่ก็มีบางประเทศที่สามารถใช้ใบขับขี่ได้ทั้ง 2 รูปแบบ

 

ทำใบขับขี่สากลแบบไหนดี ? ตัดสินใจอย่างไร

หลังจากได้รู้แล้วว่า หากต้องการเดินทางท่องเที่ยวนอกกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งนอกเหนือความครอบคลุมของใบขับขี่ไทย ต้องมีการทำใบขับขี่สากลขึ้นมา เพื่อใช้ขับขี่รถยนต์ในประเทศนั้น ๆ แต่จะรู้ได้อย่างไร ? ว่าควรจะเลือกทำแบบไหน เพราะมีให้เลือกถึง 2 รูปแบบด้วยกัน ต่อจากนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือก ว่าคุณควรทำใบขับขี่สากลแบบไหนดี

  • ตัดสินจากประเทศที่ไป เพียงคุณหาข้อมูลว่าประเทศที่คุณกำลังเดินทางไปนั้น ใช้ใบขับขี่สากลแบบใด จากนั้นก็ดำเนินการตามขั้นตอนการขอใบขับขี่
  • ตัดสินใจจากระยะเวลาที่เดินทาง จะมีบางประเทศที่สามารถใช้ใบขับขี่ได้ทั้ง 2 ประเภท หากในกรณีนี้ก็ใช้การประเมินระยะเวลาที่คุณจะอยู่ในประเทศนั้น ว่าแบบ 1 ปี หรือ 3 ปี แบบไหนเหมาะสมกว่ากัน
  • เลือกตามแผนการเดินทาง สำหรับบางประเทศที่มีระบบขนส่งที่สะดวก อย่างเช่น ญี่ปุ่น คุณแทบไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ส่วนตัว หรือ การเที่ยวแบบทัวร์ ก็ไม่จำเป็นต้องทำใบขับขี่สากลให้เสียเวลา

 

ถ้าไม่มีใบขับขี่ไทย สามารถทำใบขับขี่สากลได้หรือไม่ ?

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกตั้งข้อสงสัยบ่อยมากบนอินเทอร์เน็ต คำตอบของข้อสงสัยนี้คือ “ไม่ได้” การที่คุณจะสามารถทำใบขับขี่สากลได้นั้น คุณจะต้องมีใบขับขี่แบบ 5 ปี ของไทยเสียก่อน แม้จะเป็นใบขับขี่ชั่วคราวก็ไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกัน และ ใบขับขี่จะต้องไม่หมดอายุ รวมถึงเอกสารสำคัญอย่าง ใบประจำตัวประชาชน ก็ต้องห้ามหมดอายุ หากขาดคุณสมบัติดังที่กล่าวไปข้างต้น ไม่สามารถทำใบขับขี่สากลได้โดยเด็ดขาด จะต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนถึงจะทำใบขับขี่สากลได้

 

ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อขอใบขับขี่สากลก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

ในขั้นตอนของการขอใบขับขี่สากล ในประเทศไทยสามารถทำได้จาก สำนักงานขนส่งจังหวัดของทุก ๆ จังหวัด โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้ บัตรประชาชนตัวจริง , ใบอนุญาตขับขี่ , รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป และ หนังสือเดินทาง รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนชื่อ (หากมี) ในส่วนของขั้นตอนก็มีดังนี้

  • เดินทางไปที่สำนักงานขนส่งจังหวัดที่คุณสะดวกมากที่สุด ช่วง 08:30 ถึง 15:30 ณ วันทำการ
  • ยื่นคำร้องเพื่อขอทำใบขับขี่สากล
  • ตรวจสอบเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการดำเนินการ (อย่าลืมเช็ควันหมดอายุของเอกสาร)
  • เมื่อเอกสารทุกอย่างผ่านก็จ่ายค่าธรรมเนียมจำนวน 505 บาท (ข้อมูล ณ ปี 2567)
  • รอรับใบขับขี่สากลได้ในทันที

 

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเรื่องน่าสนใจของใบขับขี่ที่เรานำมาฝากในวันนี้ หากใครที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ควรทำใบขับขี่ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะนอกจากเป็นเอกสารสำคัญของการใช้รถใช้ถนน ยังมีส่วนสำคัญต่อเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ การสมัครงานในบางตำแหน่ง รวมถึง การขอใบขับขี่สากลเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศ สุดท้ายนี้หากคุณกำลังเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากใบขับขี่สากลที่จะต้องเตรียมพร้อม อย่าลืม “ประกันเดินทาง” ที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจแม้อยู่ไกลบ้าง ซึ่ง SILKSPAN ก็มีกรมธรรม์หลากหลายรูปแบบให้คุณได้เลือก หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE : @SILKSPAN


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 24/05/2024
โปรโมชั่นแนะนำ
Staff Call Center
“เช็กเบี้ยประกันรถ เซฟกว่าเดิม 30%”