ขาดต่อประกันอยู่หรือไม่ ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

ทำไมต้องยื่นภาษี? คำถามยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือน


ทำไมต้องยื่นภาษี ใครต้องยื่น ตอบข้อสงสัยของมนุษย์เงินเดือน

ใกล้จะถึงช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีกันแล้ว นอกจากจะต้องเตรียมแผนเที่ยวในวันหยุดยาวที่จะมาถึง อีกสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรเริ่มเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยก็คือการยื่นภาษี ทั้งการคำนวณเงินได้สุทธิทั้งหมด และการวางแผนลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกตอนที่ต้องทำเรื่อง

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ First Jobber บางคน อาจมีคำถามในใจว่า เราต้องยื่นภาษีไหม? ทำไมต้องยื่น? ถ้าไม่ยื่นจะเป็นอะไรไหม? SILKSPAN ได้หาคำตอบมาให้แล้ว พร้อมแนะนำวิธีคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบง่าย ๆ อ่านจบแล้วจะช่วยให้เข้าใจการยื่นภาษีมากขึ้นอย่างแน่นอน!

มนุษย์เงินเดือนคนไหนบ้างที่ต้องยื่นภาษี

มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่คงรู้ตัวกันแล้วว่าต้องยื่นภาษีกันทุกคน แต่สำหรับ First Jobber บางคนก็อาจมีข้อสงสัยว่า ตนเองต้องยื่นภาษีตั้งแต่ปีแรกที่ทำงานเลยไหม? คำตอบก็คือ “ใช่” ถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน (คนโสด) ที่มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป หรือ 120,000 บาทต่อปี หรือมนุษย์เงินเดือน (ที่แต่งงานจดทะเบียนแล้ว) มีรายได้ตั้งแต่ 18,333 บาทขึ้นไป หรือ 220,000 บาทต่อปี

โดยมนุษย์เงินเดือนอย่างเราจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต้องยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป และต้องยื่นในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี

ทำไมต้องยื่นภาษี ใครต้องยื่น ตอบข้อสงสัยของมนุษย์เงินเดือน

ทำไมเราทุกคนต้องยื่นภาษีเป็นประจำทุกปี

สาเหตุที่ทุกคนต้องยื่นภาษี เพราะเป็นหนึ่งในข้อกำหนดในกฎหมายสรรพากรที่ว่าด้วยประชาชนคนไทยทุกคนจำเป็นต้องมีการยื่นภาษีรายได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องจ่ายภาษี

สำหรับคนที่รายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ การยื่นภาษีจะเป็นการแสดงถึงรายได้ ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นทำธุรกรรมในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น การขอสินเชื่อบ้าน ทำไฟแนนซ์รถยนต์ หรือแม้กระทั่งกู้เงินก้อนไปทำกิจจำเป็นต่าง ๆ แต่สำหรับคนที่รายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีแล้ว เงินภาษีที่คุณจ่ายไปก็จะถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ถ้ามนุษย์เงินเดือนไม่ยื่นภาษีจะโดนอะไรบ้าง 

ถ้าคุณไม่ยื่นภาษี หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะคุณยังสามารถไปยื่นภาษีที่สำนักงานสรรพากรที่อยู่ใกล้บ้าน แล้วขอยื่นเรื่องลดค่าปรับลงได้

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ปล่อยทิ้งไว้ แล้วค่อยรอไปยื่นในปีถัดไป เพราะถ้าเจ้าพนักงานมีการตรวจสอบและออกหมายเรียกขึ้นมา นอกจากจะต้องเสียค่าปรับที่ไม่ยื่นภาษีแล้ว ยังอาจต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระด้วย

แจกคู่มือใบขับขี่ใหม่ สอบผ่านในรอบเดียว

เงินเดือนเท่านี้เสียภาษีเท่าไหร่ แนะนำวิธีคำนวณแบบง่าย ๆ 

เงินเดือนเท่าไหร่ต้องจ่ายภาษี? เป็นคำถามที่พบบ่อยมากในมนุษย์เงินเดือน และเชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกว่าการคำนวณภาษีเป็นเรื่องยากเหลือเกิน แต่ไม่ต้องเครียดไป เพราะเราได้สรุป 3 ข้อมูลควรรู้มาให้แล้ว อ่านจบ รับรองว่าคำนวณภาษีเป็นแน่นอน!

ข้อที่ 1 “เงินได้สุทธิ” ตัวเลขสำคัญที่ต้องรู้ก่อนยื่นภาษี

เงินได้สุทธิจะคำนวณมาจาก เงินได้ทั้งหมดตลอดทั้งปีของคุณ ซึ่งดูได้จากใบ 50 ทวิ ที่บริษัทออกให้ในทุกช่วงสิ้นปี บวกกับรายได้จากงานฟรีแลนซ์อื่น ๆ (ถ้ามี) แล้วนำมาหักลบกับค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และรายการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ

สูตรการคำนวณเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน

ถ้าคุณมีรายได้ทั้งหมด 400,000 บาท มีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว เช่น รายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท และประกันสังคม 9,000 บาท เงินได้สุทธิจะเท่ากับ 400,000 – 100,000 – (60,000 + 9,000) = 231,000 นั่นเอง

ข้อที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีแบบขั้นบันได

เมื่อคุณได้ตัวเลขเงินสุทธิมาแล้ว ก็สามารถนำจำนวนเงินมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันไดได้เลย ซึ่งจะสามารถดูได้เลยว่าต้องเสียภาษีหรือเปล่า และต้องจ่ายภาษีกี่บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)

อัตราภาษี

ค่าภาษีสูงสุดที่ต้องจ่ายในแต่ละขั้นบันได (บาท)

1 – 150,000 ได้รับยกเว้น 0
150,001 – 300,000 5% 7,500
300,001 – 500,000 10% 20,000
500,001 – 750,000 15% 37,500
750,001 – 1,000,000 20% 50,000
1,000,001 – 2,000,000 25% 250,000
2,000,001 – 5,000,000 30% 900,000
5,000,001 ขึ้นไป 35% ไม่มีค่าภาษีสูงสุด

ข้อที่ 3 ใช้สูตรคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแล้ว โดยคุณสามารถคำนวณง่าย ๆ ด้วยสูตร “(เงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิสูงสุดขั้นก่อนหน้า)  อัตราภาษี  แล้วนำมาบวกกับค่าภาษีสะสมที่ต้องจ่ายในขั้นก่อนหน้าได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

คุณมีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 800,000 บาท สามารถคำนวณหาค่าภาษีที่ต้องจ่ายได้ดังนี้

  • (800,000 – 750,000) 20% = 10,000 บาท
  • ผลรวมค่าภาษีสะสมในขั้นบันไดก่อนหน้าทั้งหมด = 7,500 + 20,000 + 37,500 = 65,000 บาท
  • เท่ากับว่า คุณจะต้องจ่ายภาษี 10,000 + 65,000 = 75,000 บาท นั่นเอง

มนุษย์เงินเดือนยื่นภาษีได้ที่ไหน

ในปัจจุบันเราสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่เตรียมเอกสารยื่นภาษีให้พร้อม ได้แก่

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี (ตามจริง) เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ, ใบเสร็จรับเงินการซื้อกองทุน RMF/SSF/SSFX, หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากธนาคาร, หลักฐานการบริจาค หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง โครงการ Easy E-Receipt หรือโครงการเที่ยวเมืองรอง เป็นต้น

หลังจากนั้นก็สมัครสมาชิกให้เรียบร้อย แล้วกดหัวข้อยื่นภาษีแบบออนไลน์ในหมวด ภ.ง.ด. 91 และกรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลผู้เสียภาษี เงินได้ทั้งหมด และค่าลดหย่อน หลังจากนั้นระบบก็จะคำนวณจำนวนเงินภาษีที่คุณต้องจ่ายมาให้เลย รับรองว่าไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดแน่นอน

ทำประกันสุขภาพกับ SILKSPAN โปรสุดคุ้ม ลดหย่อนภาษีได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นภาษีที่ SILKSPAN นำมาฝากในบทความนี้ หวังว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยทำไมมนุษย์เงินเดือนต้องจ่ายภาษีเป็นประจำทุกปี และช่วยให้คุณสามารถคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายได้อย่างถูกต้อง รู้ว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และยื่นภาษีได้ตรงเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องไปเสียค่าปรับโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำประกันสุขภาพ สามารถซื้อประกันสุขภาพกับ SILKSPAN ได้เลย ไม่เพียงจะนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ยังมาพร้อมกับโปรสุดคุ้มมากมาย มีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 03/12/2024
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด